พุทธตันตระและความเชื่อในพระพุทธศาสนา GB 405 ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา หน้า 108
หน้าที่ 108 / 249

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้กล่าวถึงความเชื่อในพุทธตันตระ โดยเฉพาะความเชื่อเกี่ยวกับพระพุทธองค์ซึ่งมีพระกายที่ 4 และพิธีกรรมทางศาสนาที่เกี่ยวข้องกับการเคารพบูชา รวมถึงวิธีตีความคำสอนที่มีความแตกต่างกันระหว่างกลุ่มต่างๆ โดยเฉพาะพวกทักษิณจารี ความหมายของการบูชาโยน และพิธีกรรมที่มีการใช้สุราและการมีเพศสัมพันธ์เป็นส่วนหนึ่งของการบูชา

หัวข้อประเด็น

- พุทธตันตระ
- ความเชื่อในพระพุทธศาสนา
- พิธีกรรมทางศาสนา
- ความหมายของสัญลักษณ์
- ความแตกต่างในการตีความคำสอน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

นอกจากนี้ ยังมีความเชื่อว่าพระพุทธองค์มีพระกายที่ 4 เรียกว่า วัชรสัตว์ ซึ่งทำเป็นรูป พระพุทธนิรันดรกำลังสวมกอดนางตารามเหสีของพระองค์ในท่าร่วมสังวาส (ยับยุม) พระพุทธ รูปแบบนี้และปฏิมากรรมที่คล้ายกันนี้ มีในพิพิธภัณฑ์ของประเทศเนปาลมาก และพระใน ลัทธินี้ต้องทำพิธีเสพเมถุนกับหญิงอยู่เรื่อยๆ เพื่อแสดงความเคารพต่อพระพุทธองค์กับนางตารา และยังมีความเชื่อกันอีกด้วยว่า ความเป็นพุทธะตั้งอยู่ในอวัยวะสืบพันธุ์ของหญิงหรือโยน ในขณะที่อีกพวกหนึ่งเรียกว่า พวกทักษิณจารี หรือพุทธตันตระฝ่ายขวา พวกนี้ยัง ประพฤติธรรมวินัย ถ้าเป็นพระยังรักษาพรหมจรรย์ เข้าใจตีความให้เป็นธรรมโดยกล่าวว่า สัญลักษณ์เหล่านั้น จะถือเอาตรงตัวไม่ได้ เช่น ในคัมภีร์สาธนมาลาของท่านอนังควัชระ” ซึ่ง เป็นสิทธาจารย์คนหนึ่งในนิกายนี้ ได้กล่าวว่า “สาธุ” (Sadhu) หมายถึง นักบวชควรได้รับการ บำเรอจากสตรีเพศ เพื่อให้ได้เสวยมหามธุรา ข้อความเช่นนี้เป็นสนธยาภาษา จะต้องไขความว่า สตรีเพศในที่นี้ท่านให้หมายเอาปัญญา สาธุเป็นเพศชาย จะต้องสร้างอุบายเพื่อรวมเป็นหนึ่ง (เอกภาพ) เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ได้พระนิพพาน แต่พวกวามจารีนั้นหาคิดเช่นนั้นไม่ พวกเขาได้ถือ เอาตามตัวอักษรเลยทีเดียว ถึงกับสอนว่า ผู้ใดมอบสตรีให้สิทธะจะได้กุศล จะเห็นว่า พุทธตันตระสอนให้คนกลับไปสู่กิเลส สอนให้คนเชื่อของขลังและอาคม และ สอนให้บำเพ็ญตบะแต่ไม่ต้องทำอย่างลำบากยากเย็นอะไร คือธรรมชาติประสงค์ให้มนุษย์ทำ อย่างไรก็ให้อนุโลมทำไปตามนั้น พวกตันตระมีพิธีกรรมเรียก จักรบูชา และทำกันอย่างในลัทธิ ศักติ คือ ผู้ชายกับผู้หญิงจำนวนเท่า ๆ กัน ไปพบกันในที่ลับตาเวลามืดค่ำแล้วนั่งล้อมเป็นวงเข้า เอาเทพีที่เคารพบูชาตั้งกลาง หรือไม่ก็ใช้เครื่องหมายโยนของหญิงตั้งไว้บูชา บางทีก็ให้หญิง เปลือยกาย หญิงพวกนี้โดยมากเป็นภรรยาของพระ จุดหมายในการทำพิธีนี้ อยู่ที่การบูชาโยน เป็นสำคัญ ในพิธีมีการเสพสุรา กินปลา กินเนื้อ ข้าวตากกัน แล้วเสพเมถุน การกระทำ 5 อย่าง นี้คือ ดื่มสุรา (มัทยะ) กินเนื้อ (มังสา) กินปลา (มัตสะ) กินข้าว (มุทระ) และเสพเมถุน (เมถุนะ) เรียกว่า ตัตตวะทั้ง 5 (Pancha Tattva) แต่พวกทักษิณจารีตีความ “ม” ทั้ง 5 ว่า ได้แก่ ปัญจขันธ์ 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ถ้าว่ากันโดยต้นกำเนิดแล้ว นิกายตันตรยานนี้ได้มีวิวัฒนาการมาจากปฏิกิริยาเพื่อต่อ ต้านภยันตรายที่คุกคามพุทธศาสนาในอินเดียสมัยนั้น ซึ่งกำลังขยายตัวอย่างเพิ่มขึ้นเรื่อย ใน * อนังควัชระ เป็นโอรสของพระเจ้าโคปาลแห่งอินเดียตะวันออก ท่านเป็นหนึ่งในสิทธาจารย์ 84 คน ที่มีชื่อเสียง ด้านการประพันธ์หนังสือ ผลงานได้รับการเก็บรักษาไว้ในทิเบต เช่น ปรัชโยปายวินิศจยสิทธิ * สมัคร บุราวาศ, ปรัชญาพราหมณ์ในสมัยพุทธกาล, 2516 หน้า 109-116 พระพุทธศาสนาในอินเดีย หลังยุค พุ ท ธ ก า ล DOU 99
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More