ข้อความต้นฉบับในหน้า
เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะมีพระชันษาได้ 16 พรรษา พระชนกเห็นว่าสมควรจะมีชายาได้แล้ว
จึงไปสู่ขอเจ้าหญิงยโสธรา หรือพิมพา พระธิดาของพระเจ้าสุปปพุทธะที่ประสูติจากพระนางอมิตา
มาอภิเษกเป็นชายา และต่อมาได้มีพระโอรสด้วยกันพระองค์หนึ่งนามว่า ราหุล ชีวิตการ
ครองเรือนของเจ้าชายสิทธัตถะได้รับการปรนเปรอจากพระชนกและพระประยูรญาติอย่างดีที่สุด
สิ่งใดที่คิดว่าจะทำให้เจ้าชายพอใจ พระชนกจะต้องรีบจัดหามาให้โดยหวังว่าจะให้เจ้าชายอยู่
ครองเรือนไปตลอดชีวิต และหมายมั่นจะให้ได้เป็นพระราชาและพระเจ้าจักรพรรดิในอนาคต
จะเห็นได้ว่า ในวัยหนุ่มเจ้าชายสิทธัตถะทรงศึกษาวิชาการแขนงต่าง ๆ จนเจนจบ และ
ออกบวชเมื่อทรงพระชนมายุ 29 พรรษา ทรงมีประสบการณ์ทางการปกครองอย่างดี แต่ด้วยบุญ
บารมีที่ทรงสั่งสมมาอย่างดีแล้วบันดาลให้ทรงพบเทวทูตทั้ง 4 คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และ
บรรพชิต เป็นเหตุให้พระองค์มองเห็นความทุกข์ของการอยู่ครองเรือนและปรารถนาจะหาทาง
พ้นทุกข์ด้วยการออกบรรพชา โดยเสด็จออกในเวลากลางคืน ทรงม้ากัณฐกะและมีมหาดเล็กชื่อ
ฉันนะตามเสด็จ เมื่อไปถึงฝั่งแม่น้ำอโนมาทรงตัดพระเกศาสละเพศฆราวาสผนวชเป็นบรรพชิต
แล้วให้นายฉันนะกลับไปแจ้งให้พระชนกและประยูรญาติทราบ
จากนั้นพระองค์เสด็จไปยังสำนักอาฬารดาบส และอุทกดาบส ทรงศึกษาวิชาความรู้
จนเจนจบทุกอย่างเท่าที่อาจารย์ทั้งสองสามารถสอนได้ แต่พระองค์ทรงเห็นว่าความรู้เท่านี้
ไม่สามารถตรัสรู้ได้ จึงปลีกตัวไปบำเพ็ญเพียรตามลำพังด้วยวิธีการต่าง ๆ ที่เชื่อกันในยุคนั้นว่า
จะเป็นทางแห่งการตรัสรู้ เช่น การทรมานพระวรกาย เป็นต้น แม้ปฏิบัติอยู่ถึง 6 ปีด้วยความ
วิริยอุตสาหะอย่างยิ่งยวด เมื่อทำจนถึงที่สุดแล้วแต่ก็ไม่นำไปสู่การตรัสรู้ธรรม พระองค์จึง
หันมาบำเพ็ญเพียรด้วยการทำสมาธิดำเนินจิตไปตามหนทางสายกลาง ในที่สุดก็ได้บรรลุ
พระธรรมกาย ตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในวันเพ็ญเดือน 6 ก่อนพุทธศักราช 45 ปี
เมื่อตรัสรู้แล้ว พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสั่งสอนเวไนยสัตว์ทั้งกษัตริย์ พราหมณ์
แพศย์ ศูทร ตลอดจนพวกนอกวรรณะให้ตรัสรู้ธรรมตามพระองค์ และเข้ามาขออุปสมบทเป็น
พุทธสาวกมากมาย บางพวกก็ประกาศตนเป็นพุทธมามกะขอถึงพระรัตนตรัยว่าเป็นที่พึ่งกัน
จำนวนมาก พุทธวิธีการสอนของพระองค์มีหลากหลาย ทั้งนี้เพื่อให้เหมาะสมกับฐานะและ
อุปนิสัยของแต่ละบุคคล จึงทำให้ผู้ฟังมีความรู้ความเข้าใจและตรัสรู้ตามได้โดยง่าย พระองค์
ทรงใช้เวลา 45 ปี เผยแผ่พุทธธรรมปักหลักพระศาสนาในชมพูทวีป และเสด็จขันธปรินิพพาน
ในวันเพ็ญเดือน 6 เมื่อพระชนมายุได้ 80 พรรษา
สังคม อินเดีย ส มั ย พุ ท ธ ก า ล DOU 55