ประวัติพระพุทธศาสนาในอาณาจักรอานม GB 405 ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา หน้า 178
หน้าที่ 178 / 249

สรุปเนื้อหา

พระพุทธศาสนาเข้าสู่อาณาจักรอานมประมาณพุทธศตวรรษที่ 7 โดยท่านเมียวโปได้นำนิกายมหายานจากจีนเข้ามาเผยแผ่ แม้ว่าจะไม่ได้รับความนิยมในช่วงแรก แต่ในปี พ.ศ. 1482 ชาวเวียดนามกู้เอกราชได้สำเร็จทำให้พระพุทธศาสนาเริ่มฟื้นฟูอย่างจริงจัง มีการจัดตั้งองค์การปกครองคณะสงฆ์ และในสมัยราชวงศ์ไล พระพุทธศาสนาได้รับการอุปถัมภ์อย่างสูงสุด อย่างไรก็ตาม ประวัติศาสตร์ยังเผชิญกับการเสื่อมโทรมเมื่อเวียดนามตกเป็นเมืองขึ้นของจีน ครั้งที่ 2 ทำให้พระพุทธศาสนาเสื่อมลง จนปัจจุบันได้มีการสร้างวัดและฟื้นฟูพระพุทธศาสนาอย่างต่อเนื่อง หลังจากเกิดสงครามระหว่างอาณาจักรในประเทศ

หัวข้อประเด็น

-ประวัติพระพุทธศาสนาในอานม
-นิกายมหายาน
-การเผยแผ่พระพุทธศาสนา
-สมัยราชวงศ์ไล
-การกู้เอกราชของเวียดนาม
-การต่อสู้เพื่อพระพุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

พระพุทธศาสนาเข้าสู่อาณาจักรอานมประมาณพุทธศตวรรษที่ 7 ซึ่งอยู่ระหว่างที่ อานัมยังตกเป็นเมืองขึ้นของจีน สันนิษฐานว่าท่านเมียวโป (Meou-Po) ได้นำนิกายมหายาน จากจีนเข้ามาเผยแผ่ และยังสันนิษฐานว่า พระชาวอินเดีย 3 รูป คือ พระมหาชีวก พระกัลยาณรุจิ และพระถังเซงโฮย เดินทางมาเผยแผ่ในยุคนี้ด้วยแต่ไม่เจริญรุ่งเรืองเท่าที่ควร เพราะกษัตริย์จีน นับถือศาสนาขงจื้อ ทรงไม่พอพระทัยที่มีคนนับถือพระพุทธศาสนา ต่อมาปี พ.ศ. 1482 ชาวเวียดนามกอบกู้เอกราชได้สำเร็จ พระพุทธศาสนาได้รับการ ฟื้นฟูอย่างจริงจัง ครั้งนั้นพระภิกษุชาวอินเดียชื่อ วินีตรุจิ เดินทางมาศึกษาพระพุทธศาสนา นิกายเซนในจีน แล้วเดินทางต่อเพื่อมาเผยแผ่ในเวียดนาม ต่อมาในปี พ.ศ. 1511-1522 รัฐบาล จัดตั้งองค์การปกครองคณะสงฆ์ขึ้น โดยรวมเอานักบวชเต๋ากับพระสงฆ์เข้าในระบบฐานันดร ศักดิ์เดียวกัน พระจักรพรรดิทรงสถาปนาพระภิกษุง่อนั่นหลู เป็นประมุขสงฆ์และแต่งตั้งเป็นที่ ปรึกษาของพระองค์ด้วย พระพุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรืองสูงสุดในสมัยราชวงศ์ไล เพราะเป็นศาสนาเดียว ที่ได้รับการอุปถัมภ์จากกษัตริย์รัชสมัยพระเจ้าไลไทต๋อง (พ.ศ. 1571 - 1588) โปรดให้สร้างวิหาร 95 แห่ง รัชสมัยพระเจ้าไลทันต๋อง (พ.ศ. 1597-1615) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงเอาใจใส่ กิจการบ้านเมืองและทะนุบำรุงพระพุทธศาสนา โดยเจริญรอยตามพระเจ้าอโศกมหาราช เวียดนามตกเป็นเมืองขึ้นของจีนอีกครั้งในปี พ.ศ.1957-1974 จึงทำให้พระพุทธ ศาสนาเสื่อมโทรมไปมาก เพราะกษัตริย์ราชวงศ์หมิงของจีนส่งเสริมแต่ลัทธิขงจื้อและเต่า จีน ได้ทำลายวัดเก็บเอาทรัพย์สินและคัมภีร์พุทธศาสนาไปหมด หลังจากได้รับเอกราชแล้ว สถานการณ์พระพุทธศาสนายังไม่ดีขึ้น เพราะกษัตริย์ราชวงศ์ใหม่ก็ไม่ส่งเสริมพระพุทธศาสนา ต่อมาปี พ.ศ. 2014 พระเจ้าเลทันต้องรวบรวมอาณาจักรจัมปาเข้าเป็นดินแดนส่วนหนึ่ง ของเวียดนามได้สำเร็จ แต่หลังจากนั้นไม่นานคือในปี พ.ศ.2076 เวียดนามได้แตกแยกเป็น 2 อาณาจักร คือ ฝ่ายเหนือ ได้แก่ ตังเกี๋ยของตระกูลตรินห์ (Trinh) และฝ่ายใต้ ได้แก่ อานม ของราชวงศ์เหงียน (Nguyen) ทั้ง 2 อาณาจักรทำสงครามกันมาเป็นเวลา 270 ปี ในช่วงนี้ ต่างฝ่ายต่างทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา มีการสร้างวัดและปฏิสังขรณ์วัดวาอารามมากมาย ประมาณพุทธศตวรรษที่ 22 ชาวตะวันตกหลายประเทศ เช่น โปรตุเกส ฮอลันดา ฝรั่งเศส สเปน และอังกฤษ เดินทางเข้ามาค้าขายและเผยแพร่ศาสนาคริสต์ในเวียดนาม เผยแพร่ คำสอนอยู่ได้ 200 ปี จนกระทั่งปี พ.ศ. 2370-2401 ชาวเวียดนามปราบปรามพวกคริสต์อย่าง เด็ดขาด นักสอนศาสนาถูกฆ่าตายจำนวนมาก และยังฆ่าชาวคริสต์ญวนอีกนับ 100,000 คน พระพุ ท ธ ศ า ส น า ในเอเชีย DOU 169
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More