ข้อความต้นฉบับในหน้า
พระพุทธศาสนาให้หมดไป แต่ก็ทำให้พระพุทธศาสนามิอาจรุ่งโรจน์อยู่ ณ ศูนย์กลางเดิม แต่
ไปรุ่งเรืองอยู่บริเวณทางตอนเหนือของอินเดียในแคว้นสวัส (Swat Valley) แคว้นมถุรา (Mathura)
และแคว้นคันธาระ (Candara) เป็นต้น
ศาสนาพราหมณ์จึงใช้วิธีการใหม่ คือ การกลืนพระพุทธศาสนาไว้ภายใต้ระบบ
ศาสนาฮินดู (Assimilation) หรือกล่าวง่ายๆ ว่า พยายามเปลี่ยนพระพุทธศาสนาทั้งหมดให้
เป็นศาสนาฮินดูนั่นเอง ตัวอย่างที่เห็นเด่นชัดคือ การแต่งมหากาพย์ขึ้น 2 เรื่อง คือ มหาภารตะ
และรามายณะ จนเป็นที่แพร่หลายและได้รับความนิยมของประชาชนเป็นอันมาก โดยเฉพาะ
เรื่องราวจากคัมภีร์ภควัทคีตา” มหากาพย์ทั้งสองนี้สามารถดึงดูดผู้คนให้มาศรัทธาเลื่อมใสใน
พระผู้เป็นเจ้า และทำให้ศาสนาพราหมณ์เผยแพร่เข้าสู่มวลชนได้อย่างรวดเร็ว
นอกจากนี้ พวกพราหมณ์ยังได้พัฒนาความเชื่อด้านต่าง ๆ อีกหลายอย่าง เช่น การสร้าง
ตรีมูรติให้เป็นที่พึ่งสูงสุดตามอย่างพระรัตนตรัย การสร้างวิหาร การสร้างเทวาลัยสำคัญ เป็นต้น
เป็นเหตุให้ศาสนาพราหมณ์ยุคใหม่หรือศาสนาฮินดู ยิ่งขยายวงกว้างออกไปเป็นศาสนาที่มี
อิทธิพลต่อวิถีชีวิตของชาวอินเดียอย่างยิ่ง
จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทำให้คณาจารย์คนสำคัญในสมัยนั้นมิอาจนิ่งดูดายอยู่ได้
ต่างเห็นความจำเป็นที่ต้องทำการปฏิรูปวิธีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเสียใหม่ เพื่อให้คำสอน
ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นสิ่งทันสมัยทันเหตุการณ์สามารถที่จะแข่งกับศาสนาพราหมณ์ใหม่
ที่กำลังเฟื่องฟูอยู่ในขณะนั้นได้
พระพุทธศาสนามหายานจึงได้ก่อตัวขึ้น โดยมีกลุ่มสำคัญที่เป็นต้นกำเนิดของ
มหายาน คือ นิกายมหาสังฆิกะและกิ่งของกลุ่มของนิกายมหาสังฆิกะ ซึ่งเรียกรวมว่าคณะอันธกะ
มีศูนย์กลางใหญ่อยู่ตอนใต้ของอินเดียในแว่นแคว้นอันธระ
ที่มีความเห็น
การก่อกำเนิดเป็นนิกายมหายานดังกล่าว เป็นการเกิดแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยการ
เห็นพ้องกันจากคณะสงฆ์นิกายมหาสังฆิกะ ผสมกับชาวพุทธหนุ่มสาวในขณะนั้น
ว่าจะต้องปรับปรุงวิธีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเสียใหม่ โดยการปรับปรุงแก้ไขคติธรรมใน
พระพุทธศาสนาขึ้นหลายประการเพื่อให้พระพุทธศาสนาเข้าถึงหมู่ชนสามัญโดยทั่วไป
ดังนั้น นิกายมหายานจึงได้รับการทำนุบำรุงอยู่ภายใต้อาณาจักรของกษัตริย์ราชวงศ์
ศาตวาหนะแห่งอันธระ กษัตริย์ทุกพระองค์ในราชวงศ์นี้เป็นมิตรกับพระพุทธศาสนา และ
1 เสรี วุฒิธรรมวงศ์ ผ่าปมปัญหาพุทธ ฮินดู, 2540 หน้า 87-89
* อภิชัย โพธิประสิทธิศาสต์, พระพุทธศาสนามหายาน, 2539 หน้า 83
82 DOU ประวัติศาสตร์ พระพุทธ ศาสนา