การก้าวหน้าของพระพุทธศาสนาในอิตาลีภายใต้โซกะ กัคไค GB 405 ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา หน้า 219
หน้าที่ 219 / 249

สรุปเนื้อหา

องค์กรโซกะ กัคไค ในอิตาลีได้สร้างงานพระพุทธศาสนาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการออกนิตยสาร II.Nuovo..Rinascimento ที่เพิ่มการเข้าถึงพระพุทธศาสนาแก่ประชาชนในปี 2525 นอกจากนี้ยังมีนิทรรศการ 'Toward a Century of Humanity' ที่ร่วมเน้นเรื่องสิทธิมนุษยชนและการรวมพลคนที่คัดค้านโทษประหารชีวิตจนก่อให้เกิดความสนใจในวงกว้าง ในปี 2543 มีสมาชิกอิจฉาต่อแนวคิดของไดชาขุ อิเคดะ ที่จะสนับสนุนการสร้างสันติภาพในสังคมท่ามกลางความท้าทายทางศาสนาที่ยังมีอยู่ นอกจากนั้นยังมีพระภิกษุท้องถิ่นที่สำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ทำให้ชาวอิตาลีกว่า 80,000 คนเข้าร่วมตอบสนองต่อการเผยแผ่ครั้งนี้.

หัวข้อประเด็น

-การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในอิตาลี
-องค์กรโซกะ กัคไค
-กิจกรรมสำคัญ
-สิทธิมนุษยชน
-การเข้าร่วมของสมาชิก
-พระภิกษุในอิตาลี

ข้อความต้นฉบับในหน้า

สร้างงานพระพุทธศาสนาบนพื้นฐานแห่งปรัชญาโซกะ กัคไค ให้เจริญก้าวหน้าไปตามลำดับ ชาวอิตาลีทั้งผู้ใหญ่และเยาวชนหันมาดำเนินชีวิตตามหนทางนี้กันมากขึ้นเรื่อยๆ พวกเขาได้ ช่วยกันออกนิตยสารพระพุทธศาสนารายเดือนขึ้น ใช้ชื่อว่า II.Nuovo..Rinascimento (The New Renaissance) ฉบับแรกออกในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2525 กิจการได้ขยายใหญ่โตขึ้นตามลำดับ ในปี พ.ศ.2543 สามารถจัดทำนิตยสารได้เดือนละ 21,000 เล่ม นอกจากงานด้านนิตยสาร แล้ว ในปี พ.ศ. 2541 องค์กรโซกะ กัคไค อิตาลี ได้เริ่มต้นจัดนิทรรศการ “Toward a Century of Humanity” ขึ้นเพื่อให้ความรู้และกระตุ้นชาวโลกในเรื่องสิทธิมนุษยชนในปัจจุบัน (Human Rights in Todays World) โดยจัดหมุนเวียนไปตามเมืองต่าง ๆ คือ โรม มิลาน เนเปิล เวนิส เป็นต้น ชาวอิตาลีกว่า 80,000 คน เข้าร่วมชมนิทรรศการนี้ องค์กรโซกะ กัดไค อิตาลี มีความเข้มแข็งขึ้นตามลำดับจนสามารถทำงานที่มีขนาดใหญ่ ได้ คือ ในปี พ.ศ.2542 ได้ร่วมมือกับสมาคมคริสต์ศาสนารวบรวมลายเซ็นของผู้ที่คัดค้านโทษ ประหารชีวิตรอบโลกเพื่อรณรงค์ให้ยกเลิกกฎหมายประหารชีวิต เฉพาะในเมืองฟลอเรนซ์ สามารถรวบรวมลายเซ็นได้กว่า 180,000 คน และทั่วประเทศอิตาลีกว่า 435,000 คน ซึ่ง การทำงานชิ้นนี้เป็นโอกาสสำคัญในการเผยแผ่คำสอนของโซกะ กัดไคไปด้วย ทั้งนี้เพราะสมาชิก ต้องเดินทางไปพบกับผู้คนมากมายในทุกสาขาอาชีพ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้สมาชิกขององค์กร เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในปี พ.ศ.2543 เฉพาะเมืองฟลอเรนซ์มีสมาชิกกว่า 2,500 คน หนึ่งใน สมาชิกคนสำคัญคือนายกเทศมนตรี ลีโอนาโด โดมินิซิ (Leonardo Dominici) ผู้ประกาศ ยืนยันความศรัทธาว่า เมืองฟลอเรนซ์มีจุดยืนแห่งการสร้างสันติภาพภายใต้หลักการของไดชาขุ อิเคดะ ผู้นำแห่งโซกะ กัดไค พระภิกษุชาวอิตาลีนิกายเถรวาทก็มีอยู่พอสมควร ผู้ที่มีบทบาทสำคัญคือ พระอู โลกนาถเถระ (U.Lokanatha Thera) อุปสมบทที่ประเทศพม่าในปี พ.ศ.2468 จากนั้นได้จาริก ธุดงค์ไปในดินแดนพระพุทธศาสนาต่างๆ รวมทั้งไทย เมื่อศึกษาพระพุทธศาสนาจนมีความรู้ ระดับหนึ่งแล้วจึงกลับไปเผยแผ่ที่บ้านเกิดคือประเทศอิตาลี แต่ไม่ได้ผลเพราะศาสนาคริสต์มี อิทธิพลสูงมากท่านจึงเดินธุดงค์ด้วยเท้าเปล่าข้ามทวีปยุโรปตอนใต้และเอเชียไมเนอร์มุ่งสู่อินเดีย เดินทางถึงประเทศพม่าในปี พ.ศ.2471 จากนั้นอีก 5 ปีเต็มได้มุมานะศึกษาพระไตรปิฎก นั่งสมาธิ ถือธุดงควัตร 13 ข้ออย่างเคร่งครัด ฉันมังสวิรัติ ไม่เอนหลังนอนเลยตลอด 34 ปีเต็ม นับตั้งแต่ พ.ศ.2475-2509 ท่านได้นำขบวนธรรมทูตจากพุทธคยาไปเผยแผ่ 3 ครั้งคือ ในปี 'Tamiko kaneda (2543), SGI-Italy : A Youthful Movement. (ออนไลน์) 210 DOU ประวัติ ศ า ส ต ร์ พระ พุ ท ธ ศ า ส น า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More