ข้อความต้นฉบับในหน้า
ดำเนินชีวิตที่เคร่งครัดของชาวอารยัน
คัมภีร์พระเวทเป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์และสำคัญสูงสุด ที่เป็นทั้งหลักศาสนาและหลักการ
แม้ว่าในสมัยนั้นจะมีการขีดเขียนตัวหนังสือเป็น
ลายลักษณ์อักษรแล้วก็ตาม แต่พวกพราหมณ์ก็ยังนิยมการศึกษาและท่องจำด้วยวิธีที่เรียกว่า
มุขปาฐะอยู่ดี ทั้งนี้เพื่อให้ความเคารพนับถือในความศักดิ์สิทธิ์ของคัมภีร์พระเวท และในการ
สวดสาธยายพระเวทนั้น จะต้องสวดให้ถูกต้องอักขระ พยัญชนะ ให้ถูกวรรคตอนและชัดเจน
เพราะหากสวดผิดพลาดคลาดเคลื่อนไป ก็ถือว่าเป็นข้อเสียหายที่จะมีผลต่อผู้ทำพิธีกรรมหรือ
อาจทำให้ไม่ได้รับผลตามที่ปรารถนา
2.2.2 ยุคพราหมณะ' (Brahmana Period) ประมาณ 300-100 ปี ก่อนพุทธศักราช
กำเนิดพระพรหมและความเชื่อเรื่องตรีมูรติ
เมื่อสำรวจวรรณคดีเก่าแก่ของอินเดีย เช่น คัมภีร์ฤคเวท หรือคัมภีร์พระเวทอื่น ๆ
นักศึกษาจะไม่มีทางได้พบเรื่องราวของเทพเจ้าที่เรียกว่า “พระพรหม” นี้เลย นั่นแสดงว่าใน
สมัยพระเวทยุคต้น ยังไม่มีการกล่าวถึงพระพรหมแต่อย่างใด
เท่าที่ทราบคำว่า “พรหมา” หรือ “พระพรหม” ปรากฏในวรรณคดีอินเดียเป็นครั้งแรก
เมื่อปลายสมัยพระเวทในคัมภีร์สตปกพราหมณะ ซึ่งเป็นคัมภีร์เก่าแก่ในยุคพราหมณะ (ประมาณ
2,600 ถึง 2,800 ปีมาแล้ว) ได้กล่าวถึงพระพรหมว่าเป็นพระผู้สร้างไฟและสรรพสิ่งทั้งหลาย
เป็นเทวะในอุดมคติที่เป็นนามธรรมที่ไม่มีตัวตนและไม่มีเพศ และที่สำคัญคือยกฐานะให้สูงส่ง
ยิ่งกว่าพระอินทร์ ที่พราหมณ์เคยนับถือกันว่าเป็นเทพสูงสุด แต่ภายหลังพระอินทร์กลับเริ่ม
เสื่อมความนิยมเพราะเมาน้ำโสมบ้าง เจ้าชู้บ้าง รบแพ้อสูรบ้าง พวกพราหมณ์จึงต้องสร้าง
พระพรหมที่ไม่มีแม้ตัวตนและอยู่เหนือโลกขึ้นมาทดแทนและเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว
เมื่อสร้างพระพรหมขึ้นเป็นเทพสูงสุดแทนพระอินทร์แล้ว พวกพราหมณ์ก็ยังได้สร้าง
นิยายเรื่องพระเจ้าสร้างโลกไว้ด้วยว่า ก่อนนั้นโลกยังเป็นสภาวะที่ว่างเปล่า เมื่อกาลผ่านไปก็มี
สภาวะอย่างหนึ่งมารวมประชุมกันเข้าเป็นก้อนกลมเหมือนไข่ และพระพรหมก็ถืออุบัติขึ้นใน
ไข่ฟองนั้น บันดาลให้ไข่แตกออกเป็นสองซีก ซีกบนเป็นสวรรค์ ซีกล่างเป็นโลกมนุษย์ พระพรหม
สถิตอยู่ในโลกสวรรค์ จากนั้นพระพรหมจึงได้สร้างพระอาทิตย์ พระจันทร์ ดาว ฝน พายุ ไฟ
1 ต่อจากยุคพระเวท พวกพราหมณ์ตระหนักดีว่า คัมภีร์พระเวทเหล่านั้นมีบทสวดต่าง ๆ มากมาย และบางทีบทสวด
เหล่านั้นอาจต้องการคำอธิบายเพิ่มเติม ดังนั้นจึงได้แต่งอรรถกถาที่ใช้อธิบายระเบียบการประกอบพิธีกรรม
รวมถึงข้อห้าม และข้อปฏิบัติในการประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ เพิ่มเติม โดยให้ชื่อว่า “พราหมณะ”
* วิสุทธิ์ บุษยกุล, พรหมสี่หน้า, 2549 หน้า 4
สังคม อินเดีย ก่ อ น ยุ ค พุ ท ธ ก า ล DOU 27