ข้อความต้นฉบับในหน้า
ทุกตัว มีคอมพิวเตอร์ในทุกบ้าน และไมโครซอฟต์จะเป็นซอฟต์แวร์สำหรับคอมพิวเตอร์
ทั้งหมดนั้น” ด้วยวิสัยทัศน์เช่นนี้ บิลล์ เกตส์ และไมโครซอฟต์จึงมุ่งพัฒนาซอฟต์แวร์อย่าง
จริงจังเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นนั้น ในที่สุดวิสัยทัศน์ของเขาก็ถูกต้อง
กล่าวคือ
ในปี พ.ศ.2538 บริษัทไมโครซอฟต์เข้าครอบครองซอฟต์แวร์ตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
อย่างสมบูรณ์ ระบบปฏิบัติการ “วินโดวส์” ของไมโครซอฟต์มีอยู่บนเครื่องคอมพิวเตอร์ถึง 90%
ในขณะที่ระบบปฏิบัติการของ IBM คือ “OS/2” ครองตลาดได้เพียง 5-6% เท่านั้น กว่าที่
บริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง IBM จะรู้ตัวและปรับทิศทางได้ทันก็สายไปเสียแล้ว บริษัทขาดทุนมหาศาล
ถึง 16,000 ล้านเหรียญ และเกือบจะต้องปิดกิจการ
ทำไม บิลล์ เกตส์ จึงมีวิสัยทัศน์กว้างไกลและถูกต้องแม่นยำเช่นนี้ สาเหตุสำคัญ
ประการหนึ่งนอกเหนือจากทานบารมีและปัญญาบารมีที่สั่งสมมาในอดีตคือ การศึกษาหา
ความรู้อันเป็นพื้นฐานทางปัญญาในปัจจุบัน เจมส์ วัลเลซ กล่าวไว้ว่า “การอ่านหนังสือของ
เกตส์ก็เหมือนกับความคลั่งไคล้ในคอมพิวเตอร์ โดยที่เขาจะลุยอ่านอัตชีวประวัติบุคคลมากมาย
อาทิ แฟรงคลิน รูสเวล, นโปเลียน และคนอื่นๆ เป็นต้น และเขาจะอ่านเพื่อให้เข้าใจอย่าง
ถ่องแท้เพื่อจะดูว่าประวัติศาสตร์สอนอะไรบ้าง....”
2
ทำไมต้องศึกษาประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา
เหตุผลในการศึกษาประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาก็เหมือนกับที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
บทเรียนแห่งความสำเร็จและความล้มเหลวขององค์การพระพุทธศาสนาในอดีต จะเป็นกุญแจ
สำคัญที่จะไขความสำเร็จให้เกิดขึ้นกับงานพระพุทธศาสนาในปัจจุบันและอนาคต การเทศน์
สอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถือว่าเป็นแบบแผนที่ดีในการใช้บทเรียนจากอดีตมาแก้ไข
ข้อบกพร่องในปัจจุบันกล่าวคือ พระองค์มักจะระลึกชาติถึงบุพกรรมของพระภิกษุแต่ละรูปในอดีต
เพื่อให้ท่านตระหนักและแก้ไขจะได้ทำปัจจุบันให้สมบูรณ์ด้วยพุทธวิธีนี้เองจึงทำให้พระภิกษุที่ได้
ฟังพระดำรัสของพระองค์เกิดความซาบซึ้ง ประพฤติปฏิบัติตามจนบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์
มากมาย หลักธรรมต่าง ๆ ที่พระองค์นำมาตรัสสอนจึงไม่ได้เป็นสิ่งใหม่ หากแต่เป็น
ประวัติศาสตร์ในรูปแบบต่าง ๆ คือ เป็นประวัติชีวิตของพระภิกษุแต่ละรูปบ้าง เป็นประวัติการ
สร้างบารมีของพระองค์ซึ่งปรากฏอยู่ในชาดกต่างๆ บ้าง
แม้แต่หลักธรรมอันลึกซึ้งอย่าง ปฏิจจสมุปบาท หรือ อิทัปปัจจยตา ก็ไม่ได้เป็นสิ่งใหม่
ยูบีซี (The History Channel). (2549) สารคดีผู้นำเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงโลก, (intranet)
* เจมส์ วัลเลซ, จิม อิริคสัน แปลโดย กิตติรัตน์ พรหมรัตน์, บิลล์ เกตส์ ไอ้หนุ่มอัจฉริยะพันล้าน, 2537 หน้า 25
บทนำา
DOU 9