ข้อความต้นฉบับในหน้า
ธรรมะเพื่อประชา
อ า จิ ณ ณ กรรม
อาสวกิเลสบังคับให้เราสร้างกรรม แล้วผลของกรรมคือวิบากที่
เราจะต้องได้รับ หากเป็นกรรมดีก็มีวิบากที่ดี หากเป็นกรรมชั่ว
ก็มีวิบากที่ไม่ดี ที่ผ่านมาเราคงพอจะเข้าใจถึงการให้ผลตาม
ลำาดับของกรรมในสังสารวัฏ ตั้งแต่ครุกรรมหรือกรรมหนักที่ให้
ผลเป็นอันดับแรก รองลงมาก็เป็นอาสันนกรรม คือกรรมที่ทำ
ในเวลาที่ใกล้จะตาย แต่ยังมีกรรมอีกชนิดหนึ่ง ที่คอยให้ผลเป็น
ลำาดับถัดมารองจากกรรมทั้งสอง หากว่าเราไม่ได้ทําครุกรรม
และอาสันนกรรมแล้ว จะมีกรรมชนิดนี้คอยให้ผล และเป็น
กรรมที่มีบทบาทในชีวิตมนุษย์มากทีเดียว กรรมอย่างที่ ๓ นี้
เรียกว่า อาจิณณกรรม บางครั้งจะเรียกว่าพหุลกรรม คือกรรม
ที่ทําสั่งสมไว้บ่อยๆ เป็นนิตย์
*กรรมใดที่บุคคลสั่งสมไว้ คือกระทำไว้บ่อยๆ กรรมนั้น
ชื่อว่า อาจิณณกรรม อุปมาเหมือนหยาดน้ำทีละหยดที่ค่อยๆ
ตกลงในภาชนะ ย่อมจะเติมภาชนะให้เต็มได้สักวันหนึ่ง
อาจิณณกรรมก็เช่นกัน หากสั่งสมเป็นประจำสม่ำเสมอจะฝังราก
ลึกจนเป็นอุปนิสัย เป็นความเคยชิน และติดแน่นอยู่ตรงกลางกาย
นั่นแหละ อาจิณณกรรมแบ่งเป็นฝ่ายกุศลและฝ่ายอกุศล คนที
*มก. เล่ม ๓๔ หน้า ๑๒๔