ข้อความต้นฉบับในหน้า
ตอแห่งวัฏฏะ
๑๖๔
ชาวบ้านเห็นเข้ามากันถือไป ท่านองเดียวกับปูรณกัสสปะว่า
นี่เป็นพระอรหันต์ จึงเอาข้าวปลาอาหารมาให้ เมื่อเหตุการณ์
เป็นเช่นนี้ เขาจึงไม่ยอมนุ่งเสื้อผ้าอีก และสั่งสอนลูกศิษย์ว่า
สัตว์ทั้งหลายไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย จะเศร้าหมองหรือบริสุทธิ์
ก็เป็นเอง ไม่เกี่ยวกับสิ่งใดทั้งนั้น ความเห็นเช่นนี้เป็นนิยตมิจฉา
ทิฏฐิ ที่ชื่อว่า อเหตุกทิฏฐิ เจ้าของลัทธิชื่อว่า มักขลิโคสาล
เพราะเพี้ยนมาจากคำว่า มา ขล ซึ่งแปลว่า ระวังจะลื่นล้ม
จึงกลายมาเป็นมักขลิ ร่วมกับชื่อเดิมจึงกลายเป็นมักขลิโคสาล
ส่วนลัทธิที่ ๓ เป็นมิจฉาทิฏฐิขั้นสุดโต่ง บุคคลผู้นี้เดิม
เป็นคนธรรมดาชื่อ อชิตะ ออกบวชเป็นเดียรถีย์ นักบวชนอก
พระพุทธศาสนา มีความปรารถนาจะให้ผู้อื่นมาเคารพเลื่อมใส
ในวัตรปฏิบัติของตน แม้จะมีคนเอาผ้าดีราคาแพงๆ มาให้ก็ไม่
สนใจ กลับนุ่งห่มแต่ผ้าที่ทอด้วยเส้นผมของมนุษย์ นี่ก็แปลกอีก
แบบหนึ่งไม่มีใครเขาทำกัน ผู้คนจึงเข้าใจผิดคิดว่า นายอชิตะผู้นี้
เป็นพระอรหันต์ จึงตั้งชื่อว่า อชิตเกสกัมพล ศาสดาจารย์
ผู้นุ่งห่มผ้าที่ทอด้วยเส้นผมมนุษย์ แนวคําสอนของอชิตเกสกัมพล
มีว่า ทานไม่มีผล การบูชาไม่มีผล ผลแห่งการทำชั่วการทำดีไม่มี
โลกนี้โลกหน้าไม่มี บิดามารดาไม่มีคุณ สัตว์ผู้ผุดเกิดไม่มี สัตว์
ทั้งหลายตายแล้วย่อมขาดสูญ เขาสั่งสอนลูกศิษย์ผิดๆ เช่นนี้
เป็นความเห็นผิดที่อันตรายมาก มิจฉาทิฏฐิ เช่นนี้เรียกว่า