ข้อความต้นฉบับในหน้า
ธรระพี ประช
พระทศพลญา ณ
៤៨៩
จะมีวิธีปฏิบัติอย่างไร
ประการที่ ๔. นานาธาตุญาณ ปรีชาญาณหยั่งรู้สภาวะ
ของโลกที่ประกอบด้วยธาตุชนิดต่างๆ คือ รู้สภาวะของ
ธรรมชาติทั้งฝ่ายอุปาทินนกสังขาร และฝ่ายอนุปาทินนกสังขาร
เช่น รู้จักส่วนประกอบต่างๆ ของชีวิต สภาวะของส่วนประกอบ
เหล่านั้น พร้อมทั้งลักษณะและหน้าที่ของแต่ละอย่าง เช่น การ
ปฏิบัติหน้าที่ของขันธ์ อายตนะและธาตุต่างๆ เป็นต้น และรู้
เหตุแห่งความแตกต่างกันของสิ่งทั้งหลายเหล่านั้นได้อย่างชัดเจน
ประการที่ ๕. นานาธิมุตติกญาณ ปรีชาญาณหยั่งรู้
อธิมุตติ คือ รู้อัธยาศัย ความโน้มเอียง ความเชื่อถือ แนวความ
สนใจของสัตว์ทั้งหลาย เป็นต้น ที่เป็นไปต่างๆ กัน เมื่อทรง
กำหนดเช่นนี้ จึงสามารถสอนเวไนยสัตว์ให้ถูกจริตอัธยาศัยได้
ประการที่ ๖. อินทริยปโรปริยัตตญาณ ปรีชาญาณหยั่ง
รู้ความยิ่งหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย คือ รู้ว่าสัตว์นั้นๆ
มีศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา แค่ไหน เพียงใด มีกิเลสมาก
กิเลสน้อย มีอินทรีย์อ่อน แก่เพียงไร สอนง่าย หรือสอนยาก
มีความพร้อมที่จะตรัสรู้หรือไม่ ทรงแทงตลอดหมดทั้งสิ้น
ประการที่ ๗. ฌานาทีสังกิเลสาทิญาณ ทรงรู้ความ
เศร้าหมอง ความผ่องแผ้วของการเข้าและออกจากฌาน วิโมกข์