วิธีฝึกสมาธิเบื้องต้น ธรรมะเพื่อประชาชน ฉบับพุทธคุณ หน้า 568
หน้าที่ 568 / 589

สรุปเนื้อหา

บทความนี้เสนอวิธีการฝึกสมาธิโดยการนึกกำหนดนิมิตเป็นดวงแก้วกลมใสที่แทนความสงบในจิตใจ ผู้ฝึกควรเริ่มด้วยการน้อมนึกดวงแก้วเข้าสู่ศูนย์กลางกายและภาวนาคำ “สัมมา อะระหัง” เพื่อสร้างการรู้สึกเป็นหนึ่งกับนิมิตนั้น ควรฝึกรักษาอารมณ์ให้มั่นคง ใจเย็น โดยให้ความสนใจที่ดวงแก้วและค่อยๆ ปรับอารมณ์จนพบกับ ดวงธรรม ซึ่งเป็นก้าวแรกสู่การฝึกสมาธิที่นำไปสู่นิพพาน. เนื้อหาเหล่านี้มีลักษณะเป็นแนวทางการปฏิบัติสำหรับผู้ที่ต้องการพัฒนาจิตใจและเข้าใจธรรมะได้ดีขึ้น สามารถหาอ่านเพิ่มเติมได้ที่ dmc.tv

หัวข้อประเด็น

-การฝึกสมาธิ
-นิมิตในสมาธิ
-การภาวนา
-ดวงธรรม
-แนวทางไปสู่นิพพาน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ธรรมะเพื่อประช วิธีฝึกสมาธิเบื้องต้น ๕๖๗ ๔. นึกกำหนดนิมิต เป็น “ดวงแก้วกลมใส” ขนาดเท่าแก้วตา ดำ ใสบริสุทธิ์ ปราศจากรอยตำหนิใดๆ ขาวใส เย็นตาเย็นใจ ดัง ประกายของดวงดาว ดวงแก้วกลมใสนี้เรียกว่า บริกรรมนิมิต นึก สบายๆ นึกเหมือนดวงแก้วนั้นมานิ่งสนิทอยู่ ณ ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ นึกไปภาวนาไปอย่างนุ่มนวลเป็นพุทธานุสติว่า “สัมมา อะระหัง” หรือค่อยๆ น้อมนึกดวงแก้วกลมใสให้ค่อยๆ เคลื่อนเข้าสู่ศูนย์กลางกาย ตามแนวฐานโดยเริ่มต้นตั้งแต่ฐานที่ ๑ เป็นต้นไป น้อมนึกอย่างสบายๆ ใจเย็นๆ ไปพร้อมๆ กับคำภาวนา อนึ่ง เมื่อนิมิตดวงแก้วกลมใสปรากฏแล้ว ณ กลางกาย ให้ วางอารมณ์สบายๆ กับนิมิตนั้น จนเหมือนกับว่าดวงนิมิตเป็นส่วนหนึ่ง ของอารมณ์ หากดวงนิมิตนั้นอันตรธานหายไป ก็ไม่ต้องนึกเสียดาย ให้วางอารมณ์สบาย แล้วนึกนิมิตนั้นขึ้นมาใหม่แทนดวงเก่า หรือเมื่อ นิมิตนั้นไปปรากฏที่อื่น ที่มิใช่ศูนย์กลางกาย ให้ค่อยๆ น้อมนิมิตเข้า มาอย่างค่อยเป็นค่อยไป ไม่มีการบังคับ และเมื่อนิมิตมาหยุดสนิท ณ ศูนย์กลางกาย ให้วางสติลงไปยังจุดศูนย์กลางของดวงนิมิต ด้วย ความรู้สึกคล้ายมีดวงดาวดวงเล็กๆ อีกดวงหนึ่ง ซ้อนอยู่ตรงกลาง ดวงนิมิตดวงเดิม แล้วสนใจเอาใจใส่แต่ดวงเล็กๆตรงกลางนั้นไปเรื่อยๆ ใจจะปรับจนหยุดได้ถูกส่วน เกิดการตกศูนย์และเกิดดวงสว่างขึ้นมา แทนที่ ดวงนี้เรียกว่า “ดวงธรรม” หรือ “ดวงปฐมมรรค” อันเป็น ประตูเบื้องต้นที่จะเปิดไปสู่หนทางแห่งมรรคผลนิพพาน
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น