การปฏิบัติสมถะและวิปัสสนา ตามหลักของพระมงคลเทพมุนี MD 408 สมาธิ 8 หน้า 15
หน้าที่ 15 / 265

สรุปเนื้อหา

บทความนี้เน้นการปฏิบัติสมถะตามหลักพระมงคลเทพมุนี โดยอธิบายการทำใจให้หยุดนิ่งซึ่งเป็นขั้นตอนพื้นฐานในการเข้าถึงสมถะและวิปัสสนา การเจริญสมถะต้องเริ่มจากการทำใจให้สงบ หากไม่มีความสงบในใจ การเข้าภูมิสมถะจะเป็นไปไม่ได้ สำหรับวิปัสสนานั้นเป็นขั้นต่อไปหลังจากได้ทำสมถะอย่างถูกต้อง การศึกษาทั้งสองนี้ร่วมกันจะช่วยให้การเข้าใจธรรมชาติโดยรวมสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

หัวข้อประเด็น

- การทำใจให้หยุด
- ขั้นตอนการเจริญสมถะ
- ความสำคัญของวิปัสสนา
- หลักการของพระมงคลเทพมุนี
- การปฏิบัติธรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

“...แต่ภูมิของสมถะที่เราจะพึงเรียนต่อไปนี้ เริ่มต้นต้องทำใจให้หยุดจึงจะ เข้าภูมิของสมถะได้ ถ้าทำใจให้หยุดไม่ได้ ก็เข้าภูมิสมถะไม่ได้ สมถะ เขาแปลว่าสงบ แปลว่าระงับ แปลว่าหยุด แปลว่านิ่ง ต้องทำใจให้หยุด ใจของเรานะ...” “ตั้งแต่ กายมนุษย์ถึงกายอรูปพรหมละเอียด แค่นั้นเรียกว่า ขั้นสมถะ ตั้งแต่ กายธรรมโคตรภูทั้งหยาบทั้งละเอียด จนกระทั่งถึงกายพระอรหัต ทั้งหยาบทั้งละเอียดนี้ ขั้นวิปัสสนา ทั้งนี้ที่เรามาเรียนสมถวิปัสสนาวันนี้ ต้องเดินแนวนี้ ผิดแนวนี้ไม่ได้ และก็ ต้องเป็นอย่างนี้ ผิดอย่างนี้ไปไม่ได้ ผิดอย่างนี้ไปก็เลอะเหลว ต้องถูกแนวนี้...” จากหลักการปฏิบัติของพระมงคลเทพมุนี ทำให้เห็นถึงขั้นตอนการเจริญสมถะและ วิปัสสนา โดยหลักการที่ว่า การเจริญสมถะจะเกิดขึ้นก่อน แล้วจึงจะเจริญวิปัสสนาต่อไปได้ คือ ปฏิบัติให้เข้าถึงพระธรรมกายก่อน แล้วจึงอาศัยพระธรรมกายเพื่อไปศึกษาส่วนของวิปัสสนา หลักปฏิบัติวิชชาธรรมกายจึงเป็นทั้งสมถะและวิปัสสนา ดังนั้นเพื่อให้การศึกษาวิปัสสนาภูมิ สมบูรณ์ จึงขอทบทวนหลักปฏิบัติสมถะของพระมงคลเทพมุนีไว้ในเบื้องต้นก่อน 1.1 หลักการปฏิบัติสมถะ ในการปฏิบัติสมถะ พระมงคลเทพมุนีได้กล่าวไว้ว่า “ภูมิของสมถะ เริ่มต้นต้องทำใจให้หยุดจึงจะเข้าภูมิของสมถะได้ ถ้าทำใจให้ หยุดไม่ได้ ก็เข้าภูมิสมถะไม่ได้ สมถะ เขาแปลว่าสงบ แปลว่าระงับ แปลว่าหยุด แปลว่านิ่ง ต้องทำใจให้หยุด” การปฏิบัติสมถะของพระมงคลเทพมุนี ก็คือ การทำใจให้หยุดนิ่ง ซึ่งท่านก็ได้อธิบายต่อ เพื่อให้เข้าไปสู่การปฏิบัติว่า จะทำใจให้หยุดนิ่งทำอย่างไร ก่อนอื่นต้องเข้าใจลักษณะของสิ่งที่ เรียกว่าใจ ว่าคืออะไร อยู่ตรงไหน จึงจะรู้วิธีการที่จะทำใจให้หยุดนิ่งได้ หน้า 4. 1-2 เอกสารรวบรวมพระธรรมเทศนา (พระมงคลเทพมุนี), กรุงเทพฯ : อาคารทวีสินคอมเพล็กซ์, 2539, บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ วิปัสสนา DOU 5
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More