ข้อความต้นฉบับในหน้า
นอกจากนี้ พระอรรถกถาจารย์ ได้อธิบายขยายแสดงจำนวนกิเลสที่มีมากมายไว้ว่า
“อนึ่ง เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ได้ทรงหักกิเลสเครื่องเร่าร้อน
กระวนกระวายทุกอย่าง ตั้งแสนอย่าง มีประเภท คือ โลภะ โทสะ โมหะ วิปริตมนสิการ อหิริกะ
อโนตตัปปะ โกธะ อุปนาหะ มักขะ ปลาสะ อิสสา มัจฉริยะ มายา สาเถยยะ ถัมภะ สารัมภะ
มานะ อติมานะ มทะ ปมาทะ ตัณหา อวิชชา, อกุศลมูล 3 ทุจริต 3 สังกิเลส 3 มลทิน 3
วิสมะ 3 สัญญา 3 วิตก 3 ปปัญจะ 3 วิปริเยสะ 4 อาสวะ 4 คัณฐะ 4 โอฆะ 4 โยคะ 4 อคติ 4
ตัณหุปาทาน 4 เจโตปีละ 5 วินิพันธะ 5 นิวรณ์ 5 อภินันทนะ 5 วิวาทมูล 6 ตัณหากาย 6
อนุสัย 7 มิจฉัตตะ 8 ตัณหามูลกะ 9 อกุศลกรรมบถ 10 ทิฏฐิ 62 และตัณหาวิปริต 108 หรือ
โดยย่อได้ทรงหักมาร 5 คือ กิเลสมาร ขันธมาร อภิสังขารมาร มัจจุมาร และเทวบุตรมาร”
กิเลสต่าง ๆ ดังยกมาแสดงไว้ข้างต้น เมื่อพิจารณาเราจะเห็นได้ว่า คำสอนเรื่องกิเลสที่
ปรากฏอยู่ในพระพุทธศาสนา มีมากมายหลายประเภท และยังจัดแบ่งออกเป็นกลุ่มไว้ในหลาย
ลักษณะต่าง ๆ กันไป ซึ่งในพระไตรปิฎกไม่ได้กล่าวถึงสาเหตุที่ทำให้มีกิเลสปรากฏอยู่มากมาย
แต่ในภาคปฏิบัติได้กล่าวถึงสาเหตุที่กิเลสนี้ปรากฏรูปแบบต่าง ๆ มากมายดังที่จะกล่าวต่อไป
2.4 ตระกูลของกิเลส
นอกเหนือจากกิเลสที่ปรากฏชื่อต่าง ๆ กันแล้ว ในทางพระพุทธศาสนา ยังสรุปประเภท
ของกิเลส โดยจัดแบ่งออกเป็น 3 ตระกูลใหญ่ๆ ตามลักษณะอาการปรากฏไปในทำนอง
เดียวกันของกิเลสเหล่านั้น กิเลสทั้ง 3 ตระกูล ได้แก่ โลภะ โทสะ โมหะ หรือเรียกว่า อกุศลมูล 3
ดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย... โลภะเป็นอกุศลมูล 1 โทสะเป็น
อกุศลมูล 1 โมหะเป็นอกุศลมูล 1
992
กิเลสแต่ละตระกูลมีลักษณะแตกต่างกันออกไป คือ
1. ลักษณะของกิเลสตระกูลโลภะ
กิเลส จำพวกโลภะ ได้แก่ กิเลสจำพวกที่ทำให้จิตหิว อยากได้ อยากกอบโกยเอามา
เป็นของตัว อยากหวงแหน อยากสะสมเอาไว้ ในพระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณีปกรณ์ แสดง
ลักษณะของโลภะไว้ดังนี้
1 วินัยปิฎก มหาวิภังค์, มก. เล่มที่ 1 หน้า 208.
* ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ, มก. เล่มที่ 45 ข้อ 228 หน้า 338.
บ ท ที่ 2 กิเลส DOU 27