ข้อความต้นฉบับในหน้า
ปกคลุม ครอบงำ ชำแรก กัดกร่อน บังคับบัญชา บีบคั้นจิตใจ ให้คิดแต่เรื่องร้ายๆ อันเป็นสาเหตุให้
คนเราแสดงพฤติกรรมชั่วร้าย และทำร้ายตัวเราเองในที่สุด
ในพระไตรปิฎก ปรากฏพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคตรัสถึงทุกข์โทษภัย อันเกิดจาก
กิเลสไว้โดยประการต่างๆ ซึ่งจะขอยกนำมาแสดงพอสังเขปดังนี้
“ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลถูกธรรมที่เป็นบาปอกุศลซึ่งเกิดเพราะ
ความโลภ ความโกรธ โมหะครอบงำ มีจิตอันอกุศลธรรมกลุ้มรุม ในปัจจุบัน
ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ลำบาก คับแค้น เดือดร้อน เมื่อแตกกายตายไป ทุคติเป็น
อันหวังได้”
2
สมณพราหมณ์เศร้าหมอง เพราะราคะและโทสะ เป็นคนอันอวิชชา
หุ้มห่อ เพลิดเพลิน รูปที่น่ารัก เป็นคนไม่รู้... ไม่มีสง่า ไม่ผ่องใส ไม่บริสุทธิ์
มีกิเลสธุลีดุจมฤค ถูกความมืดรัดรึง เป็นทาส ตัณหา พร้อมด้วยกิเลส
เครื่องนำไปสู่ภพ ย่อมเพิ่มพูนสถาน ทิ้งซากศพให้มาก ย่อมถือเอาภพใหม่
ต่อไป ฯ
อกุศลมูล 3 คือ โลภะ โทสะ โมหะ เหล่านี้เป็นไปในส่วนข้างเสื่อม
เพื่อความเกิดแห่งอัตภาพในนรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในปิตติวิสัย
ชนผู้ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล มีความสุขหนอ
ชนผู้ถึงเวท (คือ อริยมรรคญาณ) เท่านั้น ชื่อว่าผู้ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล
ท่านจงดูชนผู้มีกิเลสเครื่องกังวลเดือดร้อนอยู่
ชนเป็นผู้มีจิตปฏิพัทธ์ในชนย่อมเดือดร้อน ฯ
พระธรรมเสนาบดีสารีบุตร อัครสาวกเบื้องขวา ผู้เป็นเอตทัคคะด้านปัญญา ได้อธิบาย
แสดงทุกข์โทษภัยของกิเลสโดยประการต่าง ๆ ไว้ในพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส-
กามสุตตนิทเทส ว่า
พระภาวนาวิริยคุณ (เผด็จ ทัตตชีโว), คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์, กรุงเทพฯ: กรานิคอาร์ตพริ้นติ้งจำกัด 2545, หน้า 5.
* อังคุตรนิกาย ติกนิบาต, มก. เล่มที่ 34 ข้อ 509 หน้า 377.
* ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ ติกนิบาต, อรรถคาถา มก. เล่มที่ 45 ข้อ 228 หน้า 338.
“วินัยปิฎก จุลวรรค ทุติยภาค, มก. เล่มที่ 9 ข้อ 635 หน้า 534.
40 DOU สมาธิ 8 วิ ปั ส ส น า กัมมัฏฐาน