ความหมายของตัณหาและกระบวนการดับวงจรปฏิจจสมุปบาท MD 408 สมาธิ 8 หน้า 228
หน้าที่ 228 / 265

สรุปเนื้อหา

ในบทความนี้จะกล่าวถึงความหมายของตัณหา อวิชชา และความเชื่อมโยงกับกรรมที่ส่งผลต่อสังขารและผลของกรรม ที่เกิดขึ้นในชีวิตของปุถุชน เราจะทำความเข้าใจกระบวนการดับวงจรปฏิจจสมุปบาท เพื่อสร้างความเข้าใจในการพ้นทุกข์ การดับอวิชชาหมายถึงการเข้าใจความจริงและความรู้แจ้ง ซึ่งจะนำไปสู่การหลุดพ้นจากความยึดมั่นและกิเลสต่างๆ และจะมีการอธิบายถึงขั้นตอนในการดับอวิชชาแบบละเอียด การทำความเข้าใจนี้มีความสำคัญต่อการพัฒนาจิตให้เข้าถึงธรรมะที่แท้จริงเพื่อที่จะไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป.

หัวข้อประเด็น

-ความหมายของตัณหา
-อวิชชาและกิเลส
-กระบวนการดับวงจรปฏิจจสมุปบาท
-ผลของกรรม
-การเจริญวิปัสสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ตัณหา ฯลฯ อวิชชา อุปาทาน โสกะ กิเลสวัฏ สังขาร ชรามรณะ ชาติ \ วิปากวัฏ กัมมวัฏ อุปปัตติภพ สฬายตนะ นามรูป วิญญาณ กรรมภพ อธิบายว่า ปุถุชน มีกิเลสด้วยกันทุกคน กิเลสคือ อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ความหลง ความอยาก ความยึดมั่น เป็นสาเหตุให้ปุถุชนกระทำกรรม เป็นกรรมวัฏ ได้แก่ สังขาร และ กรรมภพ เมื่อปุถุชนกระทำกรรม การเสวยผลของกรรมก็ติดตามมาเป็นวิปากวัฏ การเสวยผล จะเป็นไปได้ ก็ต่อเมื่อสิ่งเหล่านี้มีอยู่พร้อม คือ วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา อุปปัติภพ ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ฯลฯ หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่ง สิ่งเหล่านี้มีผลเนื่องมาจากกรรม ในช่วงเสวยผล ปุถุชนย่อมเกิดความพอใจบ้าง ไม่พอใจบ้าง คือ สุขบ้าง ทุกข์บ้าง ความสุข ความทุกข์ก่อให้เกิดกิเลสแก่มนุษย์ปุถุชนเมื่อเกิดกิเลส ปุถุชนทำกรรมเมื่อทำกรรม ย่อมเสวยผล ของกรรม การเสวยผลของกรรมก่อให้เกิดกิเลส กระบวนการย่อมหมุนเวียนอยู่เช่นนี้เรื่อยไป 10.6 กระบวนการดับวงจรปฏิจจสมุปบาท วงจรปฏิจจสมปบาท คือ วงจรของสังสารวัฏที่เวียนวนไม่รู้จบ การเจริญวิปัสสนาก็เพื่อ จะเรียนรู้การดับวงจรปฏิจจสมุปบาทนี้เสีย เพื่อจะได้ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป สำหรับ กระบวนการในการดับวงจรปฏิจจสมุปบาท มีดังต่อไปนี้ 1. ดับอวิชชาได้สิ้น สังขารจึงดับ ดับอวิชชา หมายถึง การดับความไม่รู้ ดับความไม่รู้จริง ดับความไม่รู้แจ้ง แล้วจึงเกิด เป็นความรู้ ความรู้จริงความรู้แจ้ง เมื่อบุคคลสามารถดับความไม่รู้ คือ อวิชชา ได้แล้ว ความคิด ที่จะทำบาปย่อมไม่มี ความคิดทำบุญก็ไม่มี เพราะไม่มีสังขารความปรุงแต่ง 218 DOU สมาธิ 8 วิ ปั ส ส น า กัมมัฏฐาน
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More