ความหมายของวิปัสสนา MD 408 สมาธิ 8 หน้า 21
หน้าที่ 21 / 265

สรุปเนื้อหา

วิปัสสนา แปลว่า การเห็นวิเศษ ซึ่งเป็นปัญญาที่รู้ลักษณะทั้ง 3 คือ อนิจจา ทุกข์ และอนัตตา ปัญญานี้ทำหน้าที่ละกิเลสที่เกิดจากการเข้าใจผิดเกี่ยวกับสังขารที่ดูเหมือนเที่ยงและสุข เมื่อวิปัสสนาเกิดขึ้น จะช่วยให้สามารถละกิเลสได้ชั่วคราว และหากพัฒนาไปถึงมรรค, กิเลสจะถูกละอย่างถาวร ทุกข์จึงจะสิ้นสุดลง

หัวข้อประเด็น

-ความหมายของวิปัสสนา
-ลักษณะของวิปัสสนา
-การละกิเลสด้วยวิปัสสนา
-ความสำคัญของการเห็นไตรลักษณ์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

1.2.1 ความหมายของวิปัสสนา คำว่า วิปัสสนา มาจาก 2 บท คือ วิ + ปัสสนา วิ แปลว่า วิเศษ ปัสสนา แปลว่า การเห็น วิปัสสนา จึงหมายถึง การเห็นวิเศษ วิปัสสนานี้เป็นชื่อของปัญญา ซึ่งเป็นธรรมชาติที่รู้ ก็แต่ว่าสิ่งที่ปัญญารู้นั้นมากมายหลายอย่าง ปัญญาจึงมีมากมายหลายอย่างตามสิ่งที่รู้นั้น กล่าวคือ ปัญญารู้วิชากฎหมายก็อย่างหนึ่ง ปัญญาที่รู้วิชาภูมิศาสตร์ก็อย่างหนึ่ง ปัญญาที่รู้ วิชาวิทยาศาสตร์ก็อย่างหนึ่ง อย่างนี้เป็นต้น ในบรรดาปัญญามากมายหลายอย่างเหล่านั้นเฉพาะ ปัญญาที่รู้ไตรลักษณ์ คือ ลักษณะ 3 อย่าง มี อนิจจลักษณะ ลักษณะที่ไม่เที่ยง ทุกขลักษณะ ลักษณะที่เป็นทุกข์ และอนัตตลักษณะ ลักษณะที่เป็นอนัตตาเท่านั้น จึงได้ชื่อว่า วิปัสสนา ข้อนี้ สมจริงตามที่ท่านให้คำจำกัดความของคำนี้ไว้ว่า “อนิจจาทิวาเสนวิวิธากาเรน ปสฺสตีติ วิปสฺสนา” แปลว่า “ปัญญาชื่อว่า วิปัสสนา เพราะมีความหมายว่า เป็นโดยอาการต่าง ๆ เกี่ยวกับอาการที่ ไม่เที่ยง เป็นต้น” ดังนี้ อันได้แก่ ปัญญาที่พระพุทธเจ้าหมายเอา ตรัสไว้ว่า “สพฺเพ สังขารา อนิจจา ฯปฯ สพฺเพ สังขารา ทุกขา ฯปฯ สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา” ซึ่งแปลว่า “สังขารทั้งหลาย ทั้งปวง ไม่เที่ยง ฯลฯ สังขารทั้งหลายทั้งปวงเป็นทุกข์ ฯลฯ ธรรมทั้งหลาย ทั้งปวงเป็นอนัตตา” ดังนี้ นั่นเอง เมื่อวิปัสสนาเป็นปัญญาที่รู้ลักษณะทั้ง 3 ดังกล่าว วิปัสสนานี้จึงมิได้เป็นไปเพื่อ ประโยชน์อะไรอย่างอื่น ที่แท้แล้วเป็นไปเพื่อการละกิเลสเท่านั้น กล่าวคือ กิเลสทั้งหลาย มี โลภะเป็นต้น เมื่อจะเกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นในวัตถุธรรมที่เห็นว่าเที่ยงบ้าง ว่าเป็นสุขบ้าง ว่าเป็น อัตตาหรือเป็นของ ที่เนื่องด้วยอัตตาบ้าง เท่านั้น เพราะเหตุไรจึงเป็นเช่นนี้นั้น จะขอยกไป กล่าวเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก ในปัญหาข้ออื่นที่เกี่ยวกับไตรลักษณ์ ในที่นี้ขอเพียงชี้แจงให้ ทราบเป็นเบื้องต้นก่อนว่า กิเลสย่อมเกิดขึ้นและเจริญอยู่ได้ เพราะมีความสำคัญว่าเที่ยงเป็นต้น เพราะฉะนั้นหากว่าได้ทำความสำคัญโดยประการตรงข้าม คือความสำคัญว่าไม่เที่ยงเป็นต้น ให้ เกิดขึ้น โดยการเจริญวิปัสสนาได้แล้วไซร้ กิเลสเท่านั้นจะถูกละไป เพียงแต่ว่า การละกิเลสแห่ง วิปัสสนาปัญญานี้ เป็นการละได้เป็นครั้งคราวในทุกคราวที่ทำวิปัสสนาปัญญาให้เกิดขึ้นได้ ยัง ไม่สามารถละได้เด็ดขาดเท่านั้นแต่ถ้าหากว่าสามารถทำวิปัสสนาปัญญาที่เกิดขึ้นแล้วนี้ให้มีกำลัง ให้มีความแกล้วกล้าไปตามลำดับ จนบรรลุถึงมรรคซึ่งเป็นที่สุดแห่งวิปัสสนาปัญญาได้ ก็ย่อม ละกิเลสเหล่านั้นได้เด็ดขาด นั่นคือ กิเลสที่ถูกละไปแล้ว จะไม่มีวันหวนกลับมาเกิดได้อีกเลย เมื่อ กิเลส สิ้นไป ทุกข์ก็ย่อมสิ้นไป เพราะทุกข์ทั้งหลายในสังสารวัฏ มีชาติความเกิดเป็นต้น มีกิเลส บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ ย ว กั บ วิ ปั ส ส น า DOU 11
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More