การทำงานของธาตุและการรับรู้อารมณ์ในธรรมกาย MD 408 สมาธิ 8 หน้า 243
หน้าที่ 243 / 265

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้สอนเกี่ยวกับการทำงานของธาตุธรรมในตัวมนุษย์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการรับรู้ผ่านกายและใจ โดยแบ่งประเภทของธาตุออกเป็น ชิวหาวิญญาณธาตุ, กายวิญญาณธาตุ และมโนวิญญาณธาตุ ที่มีบทบาทสำคัญในการสัมผัส และรับรู้ทางอารมณ์ ธาตุธรรมที่ละเอียดมีลักษณะเป็นดวงกลมใส และการทำงานของจักขุทวารที่ช่วยในการเห็นรูปผ่านการส่งผ่านของธาตุเหล่านี้ไปยังสมอง การศึกษานี้มีเป้าหมายเพื่อเข้าใจการทำงานของวิญญาณธาตุและอารมณ์ที่เกิดขึ้นกับเหตุการณ์ต่างๆ ในชีวิต การอภิธรมและการรับรู้ในระดับจิตใจจะถูกใช้อย่างกว้างขวางในการปฏิบัติธรรมเพื่อการเข้าถึงนิพพาน

หัวข้อประเด็น

-การทำงานของธาตุธรรม
-การรับรู้อารมณ์
-มโนวิญญาณธาตุ
-จักขุทวาร

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ชิวหาวิญญาณธาตุ คือ ธาตุรับรู้ หรือได้รับรส กายวิญญาณธาตุ คือ ธาตุรับรู้การสัมผัส มโนวิญญาณธาตุ คือ ธาตุรับรู้ธัมมารมณ์ รวบรวมและจดจำอารมณ์และ คิดไปถึงอารมณ์และสิ่งที่จะก่อให้เกิดอารมณ์ต่างๆ ธาตุธรรมส่วนละเอียดนี้มีลักษณะเป็นดวงกลมใสเล็ก ๆ ซ้อนกันอยู่เป็นชั้น ๆ เข้าไป นอกจากนี้ในธาตุธรรมส่วนละเอียดเหล่านี้ ยังมีดวงเห็น ดวง ดวงคิด และดวงรู้เจืออยู่ด้วย ซึ่งสามารถจะเห็นได้ด้วย ตา หรือญาณของพระธรรมกาย ทุกดวง 11.3.2 กระบวนการทำงานรับรู้อารมณ์ 1. จักขุทวาร ที่ตรงกลางแววตาทั้งซ้ายขวานั้น จะมีจักขุประสาท (จักขุปสาท) ซึ่ง ทำหน้าที่เป็นจักขายตนะ คือ อายตนะ คือ ตา สำหรับรับรูป มีลักษณะสัณฐานกลมใสสะอาด บริสุทธิ์ ขนาดประมาณเท่าหัวเหา ตั้งอยู่ตรงกลางแววตาทั้งซ้าย ตรงกลางจักขุประสาทก็มี จักขุธาตุซึ่งใสสะอาดบริสุทธิ์กว่าและเล็กกว่าจักขุประสาท ซ้อนอยู่ข้างในเข้าไป สำหรับเห็นรูป ซึ่งรูปนั้นเป็นสีต่างๆ ที่อยู่ภายนอก มันเป็นอณูที่ละเอียด ถ้ามันอยู่โดดๆ ยังไม่กระทบตา มันก็ ยังเป็นธาตุอยู่ แต่สีต่างๆ เมื่อดูดเข้าหาตา รูปธาตุนั้นก็จะเป็นรูปายตนะด้วย แล้วที่ตรงกลาง จักขุธาตุก็มี จักขุวิญญาณธาตุ ใสสะอาดบริสุทธิ์กว่า เล็กกว่าจักขุธาตุ ซ้อนอยู่ข้างในเข้าไปอีก สำหรับให้รู้แจ้งว่าในการเห็นรูปอะไร มีสีสัน สัณฐานอย่างไร และมีสายใยเส้นเล็กๆ ขาวใส บริสุทธิ์ ทอดออกไปจากตรงกลาง แววตาทั้งสองข้าง ผ่านขึ้นไปบนสมอง ศีรษะ แล้วหยั่งลงในเยื่อ พื้นหลังลงไปรวมอยู่ที่กลางขันธ์ 5 ตรงกำเนิดธาตุธรรมเดิม เวลาที่อายตนะภายใน คือ จักขายตนะกับอายตนะภายนอก คือ รูปายตนะกระทบกัน หรือจะกล่าวอย่างง่ายๆ ว่า เมื่อสายตากระทบรูป ก็จะเห็นมีดวงกลมใส สีขาวบริสุทธิ์ คือ ธาตุ ส่วนละเอียดของจักขายตนะ ซึ่งมีจักขุธาตุ และจักขุวิญญาณธาตุซ้อนอยู่ แล่นจากศูนย์กลาง ขันธ์ 5 ที่ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมนั้นแหละ ขึ้นมาตามสาย สีขาวบริสุทธิ์นั้น มาจรดที่ จักขุประสาท ที่ตรงกลางแววตาทั้งซ้ายขวา ซึ่งทำหน้าที่รับรูป แล้วนำรูปนั้นแล่นกลับเข้าไปที่ กลางขันธ์ 5 ตรงกำเนิดธาตุธรรมเดิมอีกทีหนึ่ง พฤติกรรมนี้เป็นไปอย่างรวดเร็วมาก 1 พระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี (หลวงพ่อวัดปากน้ำ) และคณะศิษย์, ทางมรรค ผล นิพพาน (ธรรมปฏิบัติ ตามแนววิชชาธรรมกาย), กรุงเทพฯ: ชวนพิมพ์, 2523, หน้า 405. บ ท ที่ 11 วิ ปั ส ส น า ภู มิ ใ น ภ า ค ป ฏิ บั ติ DOU 233
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More