ความเพียรและพัฒนาการทางจิตใจ MD 408 สมาธิ 8 หน้า 166
หน้าที่ 166 / 265

สรุปเนื้อหา

ความเพียรในทางพุทธศาสนาแบ่งออกเป็น 4 ประการ ได้แก่ สังวรปธาน, ปหานปธาน, ภาวนาปธาน, และอนุรักษ์ขนาปธาน ซึ่งการฝึกอบรมเหล่านี้มีจุดประสงค์เพื่อขัดเกลาจิตใจให้ดีขึ้น โดยมี 28 วิธีการปฏิบัติเพิ่มเติม เช่น ความขยัน, ความอดทน, และความกล้าหาญ ที่ช่วยให้ผู้ฝึกสามารถพัฒนาจิตใจให้มีความมั่นคงและแข็งแกร่ง ในการเดินทางตามมรรค 8 เพื่อการหลุดพ้นจากทุกข์ เราสามารถเข้าใจการพัฒนาจิตใจนี้ได้จากแนวทางและปฏิบัติที่ได้กล่าวถึง

หัวข้อประเด็น

-ความเพียร
-การพัฒนาจิตใจ
-พุทธศาสนา
-วิธีการปฏิบัติ
-มรรค 8

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ความเพียรในข้อนี้ คือ ความเพียร 4 ประการ ได้แก่ 1. สังวรปธาน เพียรระวังมิให้ความโลภ ความโกรธ ความหลง เกิดขึ้นในขันธ สันดานด้วยสีลสังวร ขันติสังวร วิริยสังวร สติสังวรและญาณสังวร 2. ปหานปธาน เพียรละกิเลส คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ด้วยตทังคปหาน วิกขัมภนปหาน สมุจเฉทปหาน ปฏิปัสสัทธิปหาน นิสสรณปหาน 3. ภาวนาปธาน เพียรบำเพ็ญมรรค 8 ให้เกิดขึ้นในขันธสันดานของตน 4. อนุรักขนาปธาน เพียรรักษาใจให้ตั้งมั่นอยู่กับศีล สมาธิ ปัญญา ความเพียรในปธานสังขารนั้น เมื่อจะกล่าวโดยย่อก็มีอยู่ 4 อย่าง คือ สัมมัปปธาน 4 แต่เมื่อจะกล่าวโดยพิสดารแล้ว มีอยู่ 28 อย่างคือ 1. วิริยารมฺโภ มีความเพียรเป็นไปทางใจ คือมีใจขยันที่สุด 2. นิกฺกโม ทำความเพียรเป็นนิจ 3. ปรกฺกโม ทำความเพียรให้ก้าวหน้าเสมอ ๆ คือให้ทวีขึ้น ให้สูงขึ้น 4. อุยยาโม หนีจากความเกียจคร้าน ทำใจให้อยู่เหนือความเกียจคร้านทั้งมวล 5. วายาโม พยายามอย่างเต็มที่ 6. อุสสาโห มีความอดทน คือเป็นคนใจเพชร 7. อุสโสฬห์ มีความกล้าหาญ คือสู้ตาย ดุจทหารในสนามรบ 8. ถาโม มีกำลังดี คือมี พละ ๕ อย่างเข้มแข็ง 9. ธิติ มีเพียรดี คือตั้งใจมั่น ตั้งใจเด็ดเดี่ยวไม่หวั่นไหวต่ออุปสรรคใดๆ ทั้งสิ้น 10. อสิถิลปรกฺกมตา มีความบากบั่นเป็นนิจ ไม่มีจิตย่อหย่อนท้อถอยเลย 11. อนิกฺขิตฺตฉนฺทตา ไม่ทอดฉันทะ คือไม่ละความพอใจในภาวนานั้นๆ 12. อนิกขิตตธุรตา ไม่วางธุระ ยึดวิปัสสนาธุระไว้เป็นอันดับหนึ่ง 13. ธุรสมุปคุคาโห ประคองวิปัสสนาธุระไว้ให้ดีที่สุดเท่าที่จะดีได้ 14. วิริย์ อาจหาญ ไม่ครั่นคร้ามเกรงกลัวต่ออุปสรรคอะไรๆ เลยแม้แต่น้อย 15. วิริยพล มีความเพียรเป็นกำลังอันแข็งแกร่ง ดุจกำแพงแก้ว 7 ชั้น 156 DOU สมาธิ 8 วิ ปั ส ส น า กัมมัฏฐาน
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More