ข้อความต้นฉบับในหน้า
การพูด
ขันธ์ที่มีอุปาทานเข้าครอบงำจิตใจนี้ ทำให้กลายเป็นตัวเป็นตน เป็นสัตว์ เป็นบุคคล
เป็นเรา เป็นเขาขึ้นมา ทำให้เกิดความเข้าใจว่า ความเป็นอยู่ต่าง ๆ ที่ปรากฏแก่ตน เช่น การทำ
การคิดนึก ความสบาย ความไม่สบาย ความดีใจ ความเสียใจ และการเปลี่ยนแปลงไป
ต่าง ๆ ของร่างกาย เป็นเรื่องของตัวเรา หรือสิ่งที่เนื่องกับตัวเรา เราจึงใช้คำพูดกันจนชินว่า
เราทำ เราพูด เราคิด เราสบาย เราไม่สบาย เราดีใจ เราเสียใจ เราแก่ เราหนุ่ม เราสวย
เราไม่สวย และถ้าเรื่องเหล่านี้เกิดขึ้นกับผู้อื่น เราก็ใช้คำว่า ผู้นั้น ผู้นี้ เป็นอย่างนั้นอย่างนี้
รวมความแล้วทุกสิ่งทุกอย่างในโลก มีเรามีเขา ล้วนแต่เป็นอัตตทิฏฐิ (ความเห็นว่ามีตัวตนอันเป็น
ความเห็นผิด) ไปทั้งสิ้น กลายเป็นโมหะ ความโง่หลง ขาดปัญญา ไม่รู้เท่าทันตามความเป็นจริง
2. ขันธ์ 5 ที่ไม่ประกอบด้วยอุปาทาน
ขันธ์ 5 นี้เป็นขันธ์ของพระอรหันต์เท่านั้น คือ พระอรหันต์นั้นสามารถละกิเลสได้
ทั้งหมด จึงละอุปาทานได้ทั้งหมดเช่นกัน พระอรหันต์นั้นปราศจากการยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ 5 แล้ว
ตัดเหตุปัจจัยที่จะทำให้เกิดขันธ์ 5 แล้ว ทำให้ขันธ์ 5 ของท่านในภพต่อไปไม่มี เมื่อละสังขารแล้ว
ก็เข้าสู่นิพพาน
5.5 ขันธ์ 5 ตามหลักคำสอนของพระมงคลเทพมุนี
พระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย ได้แสดง
พระธรรมเทศนาเกี่ยวกับขันธ์ 5 ไว้หลายนัย จะขอยกตัวอย่างมาดังนี้
5.5.1 ขันธ์ 5 เป็นภาระอันหนัก
ท่านได้อธิบายเรื่องขันธ์ 5 ไว้ดังนี้ คือ ไม่ว่าจะเป็นขันธ์ 5 ของมนุษย์ เทวดา หรือ
สัตว์เดรัจฉาน ถ้าเข้าไปถือไว้ก็เป็นภาระหนัก ก่อให้เกิดความทุกข์ และท่านก็ได้แนะนำวิธีการ
ปล่อยวางขันธ์ 5 ดังพระธรรมเทศนาต่อไปนี้
“เราท่านทั้งหลาย เกิดมาหญิงชายทุกคนถ้วนหน้า ล้วนแต่แบกภาระขันธ์ 5 ด้วยกัน
ทั้งนั้น ขันธ์ 5 เป็นของหนัก ไม่ใช่ของเบา หนักอย่างไร หนักตั้งแต่อุบัติ ตั้งแต่อยู่ในท้อง ตั้งแต่
เกิดในท้องมารดาหนักเรื่อยมา นั่นบังคับให้มารดาผู้ทรงครรภ์นั้นหนักแล้ว ตัวเองก็หนักไปไหน
ไม่ค่อยไหว ติดอยู่ในอู่มดลูกนั่นเอง เจริญวัยวัฒนาเป็นลำดับๆ ไป
96 DOU สมาธิ 8 วิ ปั ส ส น า กัมมัฏฐาน