ข้อความต้นฉบับในหน้า
นี่แหละเหมือนอย่างเราครองเรือนอย่างนี้แหละ อยากจะปล่อยมัน แต่ว่าเครื่องติด
มันมี เลยปล่อยไม่ได้ เสียดายมันปล่อยไม่ได้ มันติดอยู่ดังนั้นแหละ ปล่อยไม่ถนัด
ปล่อยไม่ได้
เพราะเหตุฉะนี้แหละ เบญจขันธ์ทั้ง 5 ไม่ใช่เป็นของพอดีพอร้าย ต้องถอดกัน ไม่ถอด
วิธีถอดเบญจขันธ์เบื้องต้นต้องสำรวม ที่จะสำรวมน่ะ ต้องพิจารณาเบญจขันธ์ทั้ง 5
เสียก่อนว่าเป็นของไม่ดีไม่งาม เป็นของไม่ดีไม่งามนะเป็นของหนักจริงๆ นะ รู้ว่าเป็นของหนักแล้ว
เริ่มต้นทีเดียว เมื่อเห็นว่าหนักละก็เริ่มต้นสำรวม ตา หู จมูก ลิ้นกาย ใจ เลยทีเดียว
สำรวมระวังไว้ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ในเวลาที่รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์มา
กระทบ คอยระวังไว้ สำรวมไว้ให้ดี เมื่อระวังให้ดีแล้ว สละความยินดียินร้ายไม่ให้มากระทบ
ไม่ให้ความชอบความไม่ชอบ ซึ่งเป็นกิเลสหยาบเข้ามากระทบได้ สละเสีย
เมื่อสละเช่นนั้น ถ้าว่าเกียจคร้านไม่ได้นะ ต้องหมั่นขยันทีเดียว ต้องมีความเชื่อมั่น
ว่าปล่อยได้จริง แล้วขยันหมั่นเพียรจริงๆ นั่นแหละจึงจะปล่อยได้
ถ้าไม่สำรวมระวัง ปล่อยพลั้งเผลอละ ก็เหมือนดังคนเกียจคร้านมีปัญญาเลวทราม
ก็ต้องรัดรึงตรึงตราอยู่ในเบญจขันธ์ทั้ง 5 ก็บุคคลมีศรัทธา มีความเพียรดี มีความเพียรหมั่น
ขยันกลั่นกล้านั้นแหละอาจปล่อยขันธ์ 5 ได้ละ”
5.5.2 ความแตกต่างของขันธ์ 5 ในแต่ละภพภูมิ
พระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนีได้อธิบายถึงขันธ์ 5 ในแต่ละภพภูมิ ว่ามี
ความแตกต่างกัน คือ
“ขันธ์ 5 ของอรูปพรหมจะเอาไปใช้ในกายรูปพรหม กายทิพย์ กายมนุษย์ แต่ขันธ์ใด
ขันธ์หนึ่งก็ไม่ได้ ขันธ์ของภพไหนต้องอยู่ประจำภพนั้น ข้ามภพใช้ไม่ได้ เพราะอะไร
รูปก็ดี เวทนาก็ดี สัญญาก็ดี สังขารก็ดี วิญญาณก็ดี ที่เป็นของมนุษย์จะเอาไปใช้ใน
ภพทิพย์ไม่ได้ ทิพย์เป็นของละเอียด จะเอามาใช้ในภพมนุษย์ไม่ได้
ส่วนขันธ์ 5 ของรูปพรหม อรูปพรหมก็แบบเดียวกัน สลับกันไม่ได้ เอาไปใช้ในนิพพาน
ไม่ได้อีกเหมือนกัน
1 วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ และสมาคมศิษย์หลวงพ่อวัดปากน้ำ, มรดกธรรมของหลวงพ่อวัดปากน้ำ (พระมงคล-
เทพมุนี), กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง, 2539, หน้า 120-126.
บ ท ที่ 5 ขั น ธ์ 5 DOU 103