การหยุดใจและการศึกษาอายตนะ MD 408 สมาธิ 8 หน้า 138
หน้าที่ 138 / 265

สรุปเนื้อหา

สิ้น กาย กล่าวถึงการหยุดใจและการแยกชีวิตออกเป็นอายตนะ 12 เพื่อเห็นว่าชีวิตปราศจากตัวตน โดยเสนอให้ทำใจหยุด ณ ศูนย์กลางกาย เพื่อไปสู่ความรู้ที่แท้จริงและการเข้าใจถึงความหมายของชีวิต. นักศึกษาได้รับการกระตุ้นให้ประเมินตนเองหลังจากศึกษา และเตรียมตัวสำหรับบทเรียนถัดไปที่เกี่ยวกับอายตนะ. โปรดทำแบบประเมินตนเองหลังเรียนบทที่ 6 ก่อนศึกษาบทที่ 7 ต่อไปที่ dmc.tv

หัวข้อประเด็น

-การหยุดใจ
-อายตนะ 12
-การค้นหาความหมายชีวิต
-ปฏิบัติธรรม
-การประเมินตนเอง

ข้อความต้นฉบับในหน้า

สิ้น กาย จักขุบ้าง มันเกิดมาทางนี้ต้องแก้ไขทางนี้ แก้ไขทางอื่นไม่ได้ ต้องแก้ไขทาง ตา หู จมูก ใจ ไม่ให้ยินดียินร้าย ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ที่มากระทบถูกต้องอายตนะ ทั้ง 6 นั้น ให้ทำใจให้หยุด หยุดเสียอันเดียวเท่านั้นดับหมด พอหยุดได้เสีย ก็เบื่อหน่าย เบื่อหน่ายใน รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เบื่อหน่ายในทางความรู้ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เบื่อหน่ายในการสัมผัสทาง ตา หู จมูก ลิ้น กายใจ เบื่อหน่ายหมดต้องทำใจให้หยุดอยู่ ณ ศูนย์กลางกาย สะดือทะลุหลัง ขวาทะลุซ้าย กลางกั๊ก ใสเหมือนดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ หยุดนิ่งหยุดทีเดียว พอหยุดก็รู้ว่าใจของเราหยุดแล้ว ที่ว่าใจหยุดก็เข้ากลางของกลาง นิ่งอยู่ที่เดียว กลางของกลาง ๆ ๆ ไม่ถอย แล้วเข้ากลางของ กลางหนักเข้าไป พอใจหยุดก็เข้ากลางของกลาง ซ้ายขวาหน้าหลังล่างบนไม่ไป กลางของกลาง หนักขึ้นทุกทีไม่มีถอยออก กลางของกลางหนักขึ้น พอถูกส่วนเข้าก็จะเห็นดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ นั่นเป็นดวงปฐมมรรค หนทางเบื้องต้นมรรคผลนิพพาน” ดังที่กล่าวเรื่องอายตนะมาแล้ว นักศึกษาจะเห็นได้ว่า แท้ที่จริงเมื่อแยกชีวิตนี้ออก เป็นอายตนะต่าง ๆ แล้ว ย่อมเห็นว่าไม่มีตัวตน มีเพียงรูปกับนาม ดังนั้นเราจึงควรแสวงหา แก่นสารของชีวิตที่แท้จริง ไม่ไปใส่ใจเรื่องรูปนามนี้จนยึดติดมากเกินไป และตั้งใจปฏิบัติจนไป รู้เห็นสิ่งเหล่านี้ด้วยตนเองต่อไป กิจกรรม หลังจากนักศึกษาได้ศึกษา บทที่ 6 อายตนะ 12 จบโดยสมบูรณ์แล้ว โปรดทำแบบประเมินตนเองหลังเรียนบทที่ 6 และกิจกรรม ในแบบฝึกปฏิบัติบทที่ 6 แล้วจึงศึกษาบทที่ 7 ต่อไป 128 DOU ส ม า ชิ 8 วิ ปั ส ส น า กัมมัฏฐาน
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More