ความรู้ในทางพระพุทธศาสนาและจักรวาล MD 408 สมาธิ 8 หน้า 80
หน้าที่ 80 / 265

สรุปเนื้อหา

บทความนี้สำรวจความรู้ในทางพระพุทธศาสนาเกี่ยวกับการเห็นภพภูมิและจักรวาล โดยใช้เครื่องมือญาณทัสสนะซึ่งเกิดจากการปฏิบัติธรรม การเข้าถึงความรู้สูงสุดนี้จะนำไปสู่ความรู้แจ้งในพระธรรม และสามารถเชื่อมโยงกับวิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน การมองเห็นจักรวาลในแบบที่พระอนุรุทธะกล่าวถึงทำให้เราเข้าใจถึงลักษณะของโลกธาตุและโครงสร้างของจักรวาลได้มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังมีการกล่าวถึงมัชชิมาปฏิปทาและการเกิดดวงตาญาณเพื่อเข้าถึงความจริงในธรรม

หัวข้อประเด็น

- ความรู้ในพระพุทธศาสนา
- ญาณทัสสนะ
- จักรวาลและภพภูมิ
- มัชฌิมปฏิปทา
- การปฏิบัติธรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

รงเพราะ แต่การที่เรายังไม่เห็นก็ไม่ได้หมายความว่า ภพภูมิเหล่านั้นจะเป็นสิ่งที่ไม่มีอยู่จริงเห ความรู้ในทางพระพุทธศาสนาเป็นความรู้ที่อาศัยเครื่องมือคือ ญาณทัสสนะ ที่เกิดจากการ ปฏิบัติธรรม การรู้เห็นนั้นกว้างใหญ่ เป็นไปตามลำดับ สามารถรู้เห็นได้ละเอียดลึกซึ้งเกินกว่า สายตาธรรมดา ทั้งยังมีแสงสว่างที่จะทำให้การรู้เห็นนั้นเป็นไปได้อย่างถูกต้องตรงเป็นไปตาม ความจริง ดังที่กล่าวไว้ในธัมมจักกัปปวัตนสูตร ได้กล่าวถึงการปฏิบัติมัชฌิมาปฏิปทา คือ มรรค มีองค์ 8 ย่อมทำให้เกิดดวงตาและญาณ เพื่อความรู้อันยวดยิ่ง “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือปฏิปทาสายกลางนั้น ที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญา อันยิ่ง ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ...ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา....” แม้ว่าการรู้หรือการเห็นภพภูมิเหล่านั้นจะยังไม่สามารถศึกษาได้ด้วยเครื่องมือและ วิทยาการในปัจจุบัน แต่การศึกษาในเรื่องจักรวาลและเอกภพในทางกายภาพนั้น ก็ทำให้เรา สามารถเชื่อมโยงความรู้เหล่านั้นเข้ากับความรู้ในทางพระพุทธศาสนาได้ ดังที่จะได้กล่าวต่อไป 4.3 ลักษณะของภพภูมิในทางพระพุทธศาสนา การมองเห็นจักรวาลอันกว้างใหญ่หลาย ๆ จักรวาล ในทางพระพุทธศาสนาได้กล่าวถึง ในสมัยพุทธกาลคือ พระอนุรุทธะผู้เป็นเลิศทางทิพยจักขุได้ตอบพระสารีบุตรถึงป่าโคสิงคสาลวัน งามด้วยภิกษุเช่นไร “ท่านอนุรุทธะ ตอบว่าท่านสารีบุตร ภิกษุในพระศาสนานี้ ย่อมตรวจดูโลกพันหนึ่งด้วย ทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีจักษุขึ้นปราสาทอันงดงามชั้นบน จึงแลดูมณฑลแห่งกงตั้งพันได้ ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมตรวจดูโลกพันหนึ่งด้วย ทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์” สำหรับจักรวาลหลาย ๆ จักรวาลที่มารวมตัวกัน พระพุทธองค์ตรัสเรียกว่า โลกธาตุ โดยในจูฬนีสูตร ได้กล่าวถึงลักษณะของจักรวาล 3 อย่าง คือ 1 วินัยปิฎก มหาวรรค, มก. เล่ม 6 หน้า 45-46 * มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์, มก. เล่ม 19 ข้อ 378 หน้า 31. 70 DOU สมาธิ 8 วิ ปั ส ส น า กัมมัฏฐาน
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More