ความเป็นเหตุปัจจัยของกันและกัน MD 408 สมาธิ 8 หน้า 219
หน้าที่ 219 / 265

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาพูดถึงความเป็นเหตุปัจจัยของกันและกันในวงจรสังสารวัฏ โดยเฉพาะบทบาทของอวิชชาที่เป็นปัจจัยในการทำกรรมทั้งดีและชั่ว เจตนาอันเป็นมูลฐานของกรรมในระดับต่างๆ ตั้งแต่กามาวจรไปจนถึงอรูปาวจร โดยชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างอวิชชา สังขาร และกรรม มีความสำคัญอย่างยิ่งในการที่มนุษย์เคลื่อนที่ในสังสารวัฏอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

หัวข้อประเด็น

- วงจรสังสารวัฏ
- ความสัมพันธ์ของอวิชชาและกรรม
- เจตนาในพุทธศาสนา
- ระดับความดีในกรรม
- ผลของกรรมดีและกรรมชั่ว

ข้อความต้นฉบับในหน้า

10.4.2 ความเป็นเหตุปัจจัยของกันและกัน ในที่นี้จะขอกล่าวถึงวงจรของสายเกิดอันเป็นปัจจัยแห่งการเกิดสังสารวัฏ การเวียนว่าย ตายเกิดอย่างไม่มีที่สิ้นสุด โดยปฏิจจสมุปบาทแต่ละองค์มีความเกี่ยวข้องกันดังต่อไปนี้ 1. อวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร หมายความว่า อวิชชาเป็นปัจจัยให้ทำบุญทำบาป คือ อวิชชา สังขาร กรรม (ดี-ชั่ว) - - วิบาก (ดี-ชั่ว) ดังที่ทราบแล้วว่า กรรมทางกาย วาจา ใจ ของมนุษย์เริ่มต้นจากเจตนา เจตนานี้มี ทั้งที่เป็นกุศลและอกุศล ซึ่งส่งผลให้เกิดการคิดดี พูดดี ทำดี หรือคิดชั่ว พูดชั่ว ทำชั่ว ซึ่งเป็นส่วนของ สังขาร เจตนานี้เองก็มีอวิชชาเป็นมูลฐาน ทำให้ประกอบสิ่งที่เป็นกุศล หรืออกุศล ซึ่งอธิบายใน รายละเอียดดังนี้ (1) อวิชชาเป็นปัจจัยให้ทำดี โดยความดีนี้มี 3 ระดับ คือ ระดับกามาวจร คือ ความดีที่ส่งผลให้ได้มนุษยสมบัติและสวรรค์สมบัติ ความดี ระดับนี้ แบ่งออกเป็นความดีทางกายวาจาและใจ ความดีทางกายและวาจาเริ่มต้นมาจาก ความดีทางใจเป็นพื้นฐาน เมื่อมีความดีทางใจ ก็เป็นปัจจัยให้เกิดความดีทางกายและทางวาจา ติดตามมา จัดว่ามีอวิชชาเป็นปัจจัย เพราะทำโดยปรารถนาให้ได้มนุษยสมบัติ คือ เกิดเป็นมนุษย์ ถึงพร้อมด้วยลาภยศเป็นเครื่องตอบแทนยังปรารถนาการเวียนว่ายตายเกิดเพราะไม่รู้แจ้งนามรูป ตามที่เป็นจริง ระดับรูปาวจร คือ ความดีที่ส่งผลให้เกิดเป็นพรหมมีรูปร่าง ได้แก่ การได้ รูปฌาน 4 จัดว่ามีอวิชชาเป็นปัจจัย เพราะผู้ทำทำพร้อมทั้งปรารถนาการได้เกิดเป็นรูปพรหม นับว่ายังข้องอยู่ในนามรูป ระดับอรูปาวจร คือ ความดีที่ส่งผลให้เกิดเป็นอรูปพรหม ได้แก่ การได้ อรูปฌาน 4 จัดว่ามีอวิชชาเป็นปัจจัย เพราะปรารถนาการได้เป็นอรูปพรหม คือ พรหมไม่มีรูป ยังข้องอยู่ในนาม' 1 1 บรรจบ บรรณรุจิ, กระบวนธรรมเพื่อความเข้าใจชีวิต ปฏิจจสมุปบาท, กรุงเทพฯ : ธรรมสภา, 2535, หน้า 96. บ ท ที่ 10 ป ฏิ จ จ ส มุ ป บ า ท DOU 209
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More