ข้อความต้นฉบับในหน้า
11.5 อริยสัจ 4
อริยสัจ คือ ความจริงอันประเสริฐ เป็นหลักธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ และ
เป็นหลักธรรมที่สำคัญของพระพุทธศาสนา ซึ่งนำไปสู่การพ้นทุกข์
11.5.1 ลักษณะของอริยสัจ 4
อริยสัจมี 4 อย่าง ได้แก่
1. ทุกข์
ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ
2. สมุทัย
เหตุแห่งทุกข์
3. นิโรธ
ความดับทุกข์
4. มรรค
ทางแห่งการดับทุกข์
โดยมีทุกข์เป็นผล สมุทัย เป็นเหตุ นิโรธ เป็นผล มรรคเป็นเหตุ หรืออีกนัยหนึ่ง เพราะ
สมุทัย ทุกข์จึงเกิด แต่มรรคเจริญขึ้นแล้ว นิโรธก็แจ้ง กล่าวคือ เมื่อมรรคเจริญขึ้นแล้ว นิโรธ คือ
สภาวะที่ทุกข์ดับเพราะสมุทัยเป็นตัวเหตุดับก็แจ้งเมื่อสมุทัยอันเป็นตัวเหตุแห่งทุกข์ดับ ทุกข์ก็ดับ
1. ทุกขอริยสัจ คือ ความทุกข์หรือสภาพที่ทนได้ยาก มีลักษณะสัณฐานกลม สีดำๆ
ขุ่นมัวไม่ผ่องใส ซ้อนอยู่ในกลางดวงอัญญาตาวินทรีย์ ในกลางขันธ์ 5 ในกำเนิดธาตุธรรมเดิม
ซ้อนกันอยู่ 4 ชั้น คือ ชาติทุกข์ (ทุกข์เพราะเกิด) ชราทุกข์ (ทุกข์เพราะแก่ชรา) พยาธิทุกข์
(ทุกข์เพราะความเจ็บไข้ได้ป่วยต่างๆ) และมรณทุกข์ ทุกข์เพราะความตาย)
ในดวงกลมของทุกข์นั้นยังมีหุ้มซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆ อีก 4 ชั้น คือ เห็น จำ คิด รู้ และ
ขยายส่วนหยาบออกมาเป็น กาย ใจ จิต และวิญญาณของกายมนุษย์ ของทิพย์ ของรูปพรหม
และของอรูปพรหมทั้งหยาบและละเอียดซึ่งเป็นกายโลกียะทั้งหมด แต่ทุกข์ส่วนหยาบก็มีอยู่ใน
กายหยาบคือกายมนุษย์ ทุกข์ส่วนละเอียด ก็มีอยู่ในกายที่ละเอียด ๆ คือ กายทิพย์ รูปพรหม และ
อรูปพรหมต่อไปตามลำดับ
เฉพาะทุกข์ของมนุษย์นั้น ชาติทุกข์ หรือ สิ่งที่เรียกว่าเป็นความเกิดนั้น มีลักษณะเป็น
ดวงกลมใส ขนาดเล็กเท่าเมล็ดโพธิ์ ขนาดโตเท่าดวงจันทร์ สีขาวบริสุทธิ์ ดวงนี้เองเป็นดวงที่
พระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี (หลวงพ่อวัดปากน้ำ) และคณะศิษย์, ทางมรรค ผล นิพพาน (ธรรมปฏิบัติ
ตามแนววิชชาธรรมกาย), กรุงเทพฯ: ชวนพิมพ์, 2523, หน้า 529
240 DOU สมาธิ 8 วิ ปั ส ส น า กัมมัฏฐาน