ความเข้าใจเกี่ยวกับเวทนาและตัณหา MD 408 สมาธิ 8 หน้า 215
หน้าที่ 215 / 265

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาในบทนี้สรุปความรู้สึกทางใจและการแยกแยะตัณหาที่เกิดจากความอยากมีความสุขหรือความทุกข์ การวิเคราะห์เวทนาที่แบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่ เวทนาทางกายและเวทนาทางใจ ตัณหาที่เกิดขึ้นแบ่งเป็นต่าง ๆ ตามรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ พร้อมแนะนำการแยกประเภทความยึดมั่นในอารมณ์ เช่น กามุปาทาน ทิฏฐปาทาน และอื่น ๆ ซึ่งมีผลต่อภพที่เกิดในชีวิต

หัวข้อประเด็น

-ความรู้สึกและการรับรู้
-ประเภทของเวทนา
-การแบ่งประเภทของตัณหา
-การยึดมั่นในอารมณ์
-ภพและชีวิต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

4. ความรู้สึกเป็นทุกข์ทางใจ (โทมนัสเวทนา) 5. ความรู้สึกเฉย ๆ คือ รู้สึกเป็นกลางๆ ไม่สุข ไม่ทุกข์ (อุเบกขาเวทนา) เมื่อกล่าวโดยสรุปแล้ว เวทนามี 2 อย่าง คือ เวทนาทางกายและเวทนาทางใจ 8. ตัณหา คือ ความทะยานอยาก เมื่อแบ่งตามแดนที่เกิดแล้ว มี 6 ประการ คือ 1. รูปตัณหา (ความทะยานอยากได้ในรูป) 2. สัททตัณหา (ความทะยานอยากได้ในเสียง) 3. คันธตัณหา (ความทะยานอยากได้ในกลิ่น) 4. รสตัณหา (ความทะยานอยากได้ในรส) 5. โผฏฐัพพตัณหา (ความทะยานอยากได้ในโผฏฐัพพะ) 6. ธัมมตัณหา (ความทะยานอยากได้ในธรรมารมณ์) เมื่อว่าโดยอาการที่เกิด แบ่งเป็น 3 คือ กามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา 9. อุปาทาน คือ ความยึดมั่นถือมั่นในเวทนาที่ชอบหรือชัง จนเกิดความหลงติด อุปาทานมี 4 ประการ คือ 1. กามุปาทาน ความยึดมั่นในกาม 2. ทิฏฐปาทาน ความยึดมั่นในทิฏฐิ เช่น ยึดมั่นในความเห็นว่าบุญไม่มี บาปไม่มี 3. สีลัพพตุปาทาน ความยึดมั่นในศีลพรต ในข้อวัตรปฏิบัติของตน 4. อัตตวาทุปาทาน ความยึดมั่นในวาทะว่ามีอัตตา คือ ถือว่าขันธ์ 5 มีอัตตา เป็นตัวตน เที่ยงแท้ เป็นต้น 10. ภพ แปลว่า ความมีความเป็น ในที่นี้ หมายถึง ภาวะแห่งชีวิต คือ ความมีขันธ์หรือมี นามรูป เพราะชีวิตต้องตกอยู่ในภพทั้ง 3 อย่างใดอย่างหนึ่งเสมอ คือ 1. กามภพ ภพที่เป็นกามาวจร 2. รูปภพ ภพที่เป็นรูปาวจร 3. อรูปภพ ภพที่เป็นอรูปาวจร บ ท ที่ 10 ป ฏิ จ จ ส มุ ป บ า ท DOU 205
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More