อวิชชาและการทำดี-ชั่วในพระพุทธศาสนา MD 408 สมาธิ 8 หน้า 220
หน้าที่ 220 / 265

สรุปเนื้อหา

อวิชชาหรือความไม่รู้เป็นปัจจัยที่ทำให้คนทำชั่ว โดยเริ่มจากความชั่วทางใจซึ่งส่งผลให้เกิดการทำผิดทางกายและวาจา ความชั่วทำให้เกิดความทุกข์และส่งผลไปสู่อบายภูมิ ขณะเดียวกัน อวิชชาก็สามารถเป็นปัจจัยให้เกิดการทำดีหรือบุญได้ โดยในบางสถานการณ์ สิ่งที่ดีอาจเกิดจากสิ่งไม่ดี เช่น กฎหมายเกิดขึ้นจากการมีคนทำผิด อวิชชาเป็นพื้นฐานการทำกรรม ทั้งกรรมดีและกรรมชั่วเสมอมีวิบากตามมา ทำให้เกิดการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ ในมุมมองของพระอรหันต์ การมีบุญสวรรค์ไม่ถือเป็นสิ่งที่ดี เพราะพวกเขาได้ละบุญและบาปแล้ว จึงคือ ผู้รู้และเข้าใจในวัฏสงสาร ดังนั้น สังขารหรือเจตนาทางกาย ทางวาจา ทางจิตจึงเป็นปัจจัยนำมาซึ่งวิญญาณที่รับรู้และประสบการณ์ต่างๆ ในชีวิต

หัวข้อประเด็น

-อวิชชาและชีวิตมนุษย์
-หลักการทำดีและชั่ว
-การสร้างสรรค์กฎหมายในสังคม
-การสำนึกในพระพุทธศาสนา
-สังขารและวิญญาณในพระพุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

(2) อวิชชาเป็นปัจจัยให้ทำชั่ว ความชั่วนี้มีทั้งความชั่วทางกาย ทางวาจา และทางใจ โดยเริ่มต้นมาจากความชั่วทางใจเป็นพื้นฐาน โดยมีอวิชชาเป็นปัจจัย เพราะไม่รู้จึงทำชั่ว ทั้ง ทางกาย วาจา และใจ อวิชชาเป็นปัจจัยแก่การทำชั่วหรือบาปอันส่งผลให้เกิดความทุกข์ และยังผลให้ สัตว์ไปเกิดในอบายภูมิเป็นสิ่งที่เข้าใจได้โดยธรรมดา ส่วนอวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดการทำดีหรือ บุญซึ่งเป็นวัฏคามี คือ เพื่อจะได้ท่องเที่ยวเสวยสุขในวัฏสงสาร เป็นสิ่งที่ค่อนข้างจะฝืนความรู้สึก คล้ายกับว่าอวิชชาเป็นสิ่งที่ไม่ดี ไม่พึงปรารถนา ส่วนบุญกุศล การเกิดในสวรรค์ ในพรหมโลก ถือว่าเป็นสิ่งพึงปรารถนา ปัญหาจึงเกิดขึ้นว่า สิ่งที่ดีจะเกิดจากสิ่งที่ไม่ดีได้อย่างไร หรือสิ่งที่พึง ปรารถนาจะเกิดจากสิ่งที่ไม่พึงปรารถนาได้อย่างไร คำตอบนั้นมีปรากฏให้เราเห็นอยู่ในสังคม ทั่วไป เช่น ถ้าสมมติว่ากฎหมายเป็นสิ่งที่ทำให้สังคมดำรงอยู่อย่างสงบสุข ก่อนจะมีกฎหมายก็ จะต้องมีคนไม่ดีก่อกวนสังคมมาก่อนกฎหมายจึงเกิดขึ้นเจตนาในการสร้างกฎหมายก็เพื่อป้องกัน มิให้สิ่งไม่ดีเกิดขึ้น ตำรวจเกิดมีขึ้นก็เพราะมีโจรผู้ร้าย ศาลยุติธรรมเกิดมีขึ้นเพราะมีการทุจริต ในกรณีนี้สิ่งไม่ดีจึงเป็นปัจจัยให้เกิดสิ่งที่ดี บุญ สวรรค์ หรือพรหมโลก เป็นสิ่งที่ดีสำหรับผู้ที่ยังต้องเวียนว่ายตายเกิดเพื่ออยู่ ในภพภูมิที่ดีได้เสวยสุข แต่ในแง่ของการตัดวงจรสังสารวัฏ ในฐานะของพระอรหันต์ผู้หมดกิเลส การมีบุญ สวรรค์ หรือพรหมโลก ก็ไม่ใช่สิ่งที่ดี เพราะพระอรหันต์คือผู้ละบุญและบาปได้แล้ว ดังที่ พุทธพจน์ที่ว่า “ผู้ใดมีกิเลสสงบแล้ว ละบุญและบาปได้แล้ว ปราศจากกิเลสธุลี รู้โลกนี้และ โลกหน้าแล้ว ล่วงชาติและมรณะได้ ผู้คงที่เห็นปานนั้น บัณฑิตกล่าวว่า เป็นสมณะ” สรุปแล้ว อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร หมายถึง ความไม่รู้ทำให้คนทำดีทำชั่ว การทำดีทำชั่วนั้นย่อมต้องมีวิบาก เพราะฉะนั้น สังขาร คือ เจตนา จึงเป็นทั้งกรรมและวิบาก แล้วสังขารฝ่ายวิบาก (เจตนาฝ่ายวิบาก) นี้เองที่เป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณต่อไป 2. สังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ เมื่อมีสังขารหรือเจตนาทางกาย ทางวาจา ทางใจ (ความคิด) เกิดขึ้นตามที่ได้เคยสั่งสมไว้ ในกระบวนการทางจิตจักมีวิญญาณมารับรู้สังขาร หรือเจตนานั้น วิญญาณจึงทำหน้าที่คล้าย ๆ ระบบประสาทเป็นตัวเชื่อมต่อเพื่อแลกเปลี่ยน ข้อมูลระหว่างกาย จิต และสิ่งแวดล้อม พระพุทธองค์จึงตรัสว่า “สังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ” เพิ่ม รัฐไชย, การศึกษาเชิงวิเคราะห์เรื่องหลักปฏิจจสมุปบาท, วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต, แผนกวิชาปรัชญา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2522 2 ขุททกนิกาย สุตตนิบาต, มก. เล่มที่ 47 ข้อ 367 หน้า 476. 210 DOU สมาธิ 8 วิปัสสนากัมมัฏฐาน
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More