ข้อความต้นฉบับในหน้า
กล่าวโดยย่อ อุปาทานในขันธ์ 5 เป็นทุกข์ ดังบาลีพระพุทธภาษิตที่ว่า สงฺขิตเตน ปญฺจุ
ปาทานกฺขนฺธา ทุกขา ซึ่งแปลความว่า ความเข้าไปยึดถือขันธ์ 5 เป็นทุกข์ ซึ่งก็คือ เห็น จำ คิด รู้
นั่นเองที่เข้าไปยึดถือในขันธ์ 5 จึงเป็นทุกข์
ະ
ตง
อนึ่ง ทุกข์ที่เกิดขึ้นก็ได้แต่เพียงกำหนดรู้ไว้ว่าเป็นทุกข์เท่านั้น จะดับทุกข์ก็ยังไม่ได้ ถ้า
จะดับทุกข์ก็ต้องละสมุทัย คือเหตุแห่งทุกข์เสียก่อน ทุกข์จึงจะดับ เพราะทุกข์นี้เกิดขึ้นและ
อยู่ได้ ก็เพราะอาศัยสมุทัยเป็นเหตุ คือทุกข์นั้นอยู่ชั้นนอก สมุทัยซ้อนอยู่ชั้นใน ชั้นนอกจะเกิด
ขึ้นได้และเจริญอยู่ได้ก็เพราะอาศัยชั้นในรักษา ถ้าชั้นในซึ่งเป็นใจกลางดับ ชั้นนอกซึ่งเป็น
เสมือนเปลือกหุ้มอยู่ก็ต้องดับตามไปด้วย เพราะเหตุนั้น การดับทุกข์จึงต้องดับตัวสมุทัยซึ่งเป็น
ตัวเหตุเสียก่อน ทุกข์ซึ่งเป็นตัวผลจึงจะดับตาม
เมื่อเห็นแจ้งด้วยตามพระธรรมกาย และรู้แจ้งด้วยญาณพระธรรมกายว่า ความเกิด แก่
เจ็บ และตายนี้ไม่เที่ยง เป็นทุกข์จริง (ทุกขอริยสัจ) เรียกว่า สัจจญาณ และเห็นแจ้งรู้แจ้งด้วย
ตาและญาณพระธรรมกายว่า ทุกขอริยสัจนี้ควรกำหนดรู้ เรียกว่า กิจจญาณ และว่า ความทุกข์
ทั้งหลายเหล่านี้เราได้พิจารณาเห็นชัดแจ้ง รู้ชัดแจ้งแล้ว ชื่อว่า บรรลุกตญาณ เช่นนี้เรียกว่า
พิจารณาทุกขสัจซึ่งเป็นไปในญาณ 3
2. สมุทัยอริยสัจ เหตุให้เกิดทุกข์นั้น มีลักษณะสัณฐานกลม สีดำ ขุ่นมัว ไม่ผ่องใส ซ้อน
อยู่ในกลางดวงทุกขสัจ ที่ในกลางขันธ์ 5 ในกำเนิดธาตุธรรมเดิมนั้นแหละ ขนาดเล็กเท่าเมล็ด
โพธิ์ ขนาดโตเท่าดวงจันทร์ มีซ้อนกันอยู่ 3 ชั้น คือดวงกามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา มี
ความละเอียดและดำมากกว่ากันเข้าไปเป็นชั้น ๆ ในดวงสมุทัยนี้ยังมีหุ้มซ้อนกันอยู่ 4 ชั้น คือ เห็น
จำ คิด และรู้ ซึ่งขยาย ส่วนหยาบออกมาเป็น กาย ใจ จิต และวิญญาณของกายทิพย์หยาบ ทิพย์
ละเอียด รูปพรหมหยาบ รูปพรหมละเอียด และอรูปพรหมหยาบ อรูปพรหมละเอียด ซึ่งเป็น
กายโลกียะ แต่สมุทัยในแต่ละกายนี้หยาบ-ละเอียด ตามความหยาบ-ละเอียดของกายแต่ละ
กายเข้าไปตามลำดับ
ส่วนรูป เสียง กลิ่น รส และสิ่งสัมผัสทางกาย ซึ่งเรียกว่า กามคุณ หรือพัสดุกาม และ
ธัมมารมณ์ ทั้ง 6 อย่างนี้เป็นของทิพย์ เพราะเกิดขึ้นแล้วก็ดับหายไป คงทิ้งไว้แต่ความยินดี
ยินร้าย ให้ปรากฏฝังใจอยู่เท่านั้น กามตัณหา คือความทะยานอยากในกามคุณทั้ง 5 ภวตัณหา
คือความปรารถนาที่จะให้กามคุณที่พึงพอใจที่ตนมีอยู่แล้วให้ดำรงอยู่ และความทะยานอยาก
ในความอยากมี อยากเป็นโน่น เป็นนี่ และวิภวตัณหา คือความปรารถนาที่จะให้สิ่งที่ ไม่เป็นที่
พึงพอใจพินาศไป หรือไม่อยากจะได้พบได้เห็น หรือความทะยานอยากที่จะไม่มี ไม่เป็นในสิ่งที่
242 DOU สมาธิ 8 วิ ปั ส ส น า กัมมัฏฐาน