กฎแห่งกรรม: การกระทำและผลของชีวิต MD 408 สมาธิ 8 หน้า 57
หน้าที่ 57 / 265

สรุปเนื้อหา

กฎแห่งกรรมเป็นหลักคำสอนในพระพุทธศาสนาเกี่ยวกับการกระทำและผลที่เกิดขึ้น มีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตและอนาคตของเรา การทำกรรมดีหรือตราบเลวล้วนส่งผลต่อชีวิต ต้นเหตุของปัญหาหรือความสำเร็จในปัจจุบันมาจากกรรมในอดีต คำสอนเกี่ยวกับกรรมมีในพระไตรปิฎก เช่น 'ผู้ทำกรรมดีย่อมได้ผลดี และผู้ทำกรรมชั่วย่อมได้ผลชั่ว' การทำกรรมที่มีเจตนาจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกคนควรตระหนักถึงเพื่อเข้าใจชีวิตตน.

หัวข้อประเด็น

-กฎแห่งกรรม
-กรรมและผล
-การกระทำและเจตนา
-ความสำคัญของกรรม
-พระไตรปิฎก

ข้อความต้นฉบับในหน้า

กฎแห่งกรรม คือ กฎแห่งการกระทำ เป็นกฎแห่งเหตุและผล เป็นกฎแห่งธรรมชาติ เป็นกฎอันเป็นสากลแก่สรรพสัตว์ทั้งปวง และเป็นความรู้ที่ทุกคนควรต้องศึกษาเพื่อ ความปลอดภัยในสังสารวัฏ กฎแห่งกรรมเป็นหลักคำสอนที่สำคัญในพระพุทธศาสนา คำสอนเรื่องกฎแห่งกรรม มีปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกหลายแห่ง เป็นต้นว่า “บุคคลทำกรรมใด ย่อมมองเห็นกรรมนั้นในตน ผู้ทำกรรมดีย่อมได้ผลดี ผู้ทำกรรมชั่วย่อมได้ผลชั่ว บุคคลหว่านพืชเช่นใด ผลย่อมงอกขึ้นเช่นนั้น” “สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้เลวและประณีตได้” เมื่อพิจารณาแล้วจะเห็นได้ว่า เรื่องกฎแห่งกรรมเป็นเรื่องสำคัญที่เกี่ยวข้องกับชีวิต ความเป็นมาและอนาคตที่จะเป็นไปของเราทุกคน เพราะว่าความเป็นตัวเราในปัจจุบันทั้งด้าน รูปสมบัติ คุณสมบัติ และทรัพย์สมบัติ อีกทั้งความเป็นอยู่โดยประการต่างๆ ของเรา ล้วนเป็น ผลอันมาจากกรรมที่เราได้กระทำไว้ในอดีตนับภพนับชาติไม่ถ้วน 3.2 ความหมายของกรรม สิ่งที่เรียกว่า “กรรม” ตามความหมายในพระพุทธศาสนา หมายถึง การกระทำที่ประกอบ ด้วยเจตนา ดังพุทธพจน์ที่ว่า “เจตนาห์ ภิกฺขเว กมฺม วทามิ เจตตวา กมุม กโรติ กาเยน วาจาย มนสาติ...” หมายความว่า ภิกษุทั้งหลาย เจตนานั่นเอง เราเรียกว่า กรรม บุคคลจงใจแล้ว จึงทำ ด้วยกาย วาจา ใจ * เวนสาขชาดก ขุททกนิกาย ชาดก, มก. เล่มที่ 58 หน้า 723-724. * อภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี อัฏสาลินี, มก. เล่มที่ 75 หน้า 232 * อภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ, สยามรัฐ เล่มที่ 37 ข้อ 1281 หน้า 422 บ ท ที่ 3 ก ร ร ม - ว บ า ก DOU 47
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More