ความสำคัญของอริยสัจในพระพุทธศาสนา MD 408 สมาธิ 8 หน้า 187
หน้าที่ 187 / 265

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับการเข้าใจอริยสัจ 4 ว่ามีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงจากปุถุชนเป็นอริยชน โดยเมื่อรู้แจ้งแล้วจะทำให้สามารถกำจัดศัตรูภายในคือกิเลส และลดความขัดแย้งภายนอก แสดงให้เห็นถึงความสำคัญในการแสวงหาความสงบสุขผ่านการปฏิบัติตามหลักธรรมนี้ ผู้ที่รู้แจ้งในอริยสัจเติมเต็มชีวิตด้วยความปลอดภัยจากศัตรูภายนอกและภายใน ในปัจจุบันเราจะพบว่าการมีความเข้าใจในอริยสัจทำให้ลดการก่อเกิดเวรกรรมกับผู้อื่นและสร้างความรู้สึกที่ดีในตนเอง

หัวข้อประเด็น

-การเปลี่ยนแปลงจากปุถุชนเป็นอริยชน
-ความสำคัญของอริยสัจในชีวิต
-การกำจัดศัตรูภายในและภายนอก
-การปฏิบัติตามหลักธรรมในพระพุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

3. เป็นความจริงที่ทำบุคคลผู้เข้าถึงให้เป็นอริยชน แม้เดิมทีเดียวเป็นปุถุชน แต่เมื่อมา รู้แจ้งในอริยสัจ 4 ครบถ้วนบริบูรณ์ทุกประการแล้ว ย่อมแปรสภาพจากปุถุชนเป็นอริยชนไปทันที เหมือนคนจนเมื่อมีทรัพย์ขึ้นก็กลายเป็นเศรษฐีไป 4. เป็นความจริงอันทำให้บุคคลผู้ปฏิบัติตามห่างไกลจากข้าศึก ในทางพระพุทธ ศาสนานั้น ข้าศึกมี 2 อย่าง คือ ข้าศึกภายนอก อันได้แก่ ผู้มุ่งร้ายต่อเรา และข้าศึกภายใน คือ กิเลสซึ่งเป็นข้าศึกอันร้ายกาจของบุคคล โรครบกวนกายให้ไร้ความสงบสุขอย่างไร กิเลสก็ รบกวนใจให้ปราศจากความสงบสุขอย่างนั้น บรรดาข้าศึกทั้ง 2 อย่างนั้น กิเลสดูเหมือนจะเป็น ข้าศึกที่ร้ายแรงกว่า เพราะรบกวนใจทุกวันและอิงอาศัยอยู่กับเรา หลอกล่อเราให้ลุ่มหลงแล้ว ทำร้ายในภายหลัง ผู้แจ่มแจ้งในอริยสัจย่อมสามารถกำจัดศัตรูภายในได้ห่างไกลจากศัตรูภายใน คือ กิเลส ส่วนศัตรูภายนอกนั้นอย่างน้อยที่สุดก็เบาบางลง เพราะบุคคลเช่นนั้นย่อมไม่ก่อศัตรูกับใคร ไม่มีเวรมีภัยกับใคร จะมีก็แต่ผู้อื่นตั้งตนเป็นศัตรูกับท่านเอง แต่ท่านก็หาเป็นศัตรูด้วยไม่ ความรู้สึกว่าไม่มีศัตรูเป็นความปลอดโปร่งแจ่มใส เป็นความสุขที่เห็นได้ในปัจจุบัน 9.2 ความสำคัญของอริยสัจ อริยสัจเป็นหัวข้อธรรมสำคัญอย่างยิ่งหัวข้อหนึ่งในหลักคำสอนสำคัญของพระสัมมา สัมพุทธเจ้า จะเห็นได้จากหลักฐานต่อไปนี้ 1. พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงปฏิญาณพระองค์ว่าเป็นสัมมาสัมพุทธะเพราะทรงรู้แจ้งใน อริยสัจ ความข้อนี้ปรากฏอยู่ในธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ที่ทรงแสดงเป็นครั้งแรกแก่ปัญจวัคคีย์ นั่นเอง ว่า “ปัญญาอันรู้เห็นตามเป็นจริงของเราในอริยสัจ 4 นี้ มีรอบ 3 มีอาการ 12 อย่างนี้ ยังไม่หมดจดดีแล้วเพียงใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรายังยืนยันไม่ได้ว่า เป็นผู้ตรัสรู้สัมมา- สัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลกในหมู่สัตว์ พร้อมทั้ง สมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เพียงนั้น 1 วศิน อินทสระ, หลักธรรมอันเป็นหัวใจพระพุทธศาสนา, กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ธรรมดา, 2544, หน้า 13-14. บ ท ที่ 9 อ ริ ย สั จ 4 DOU 177
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More