ความเสื่อมโทรมของขันธ์ 5 และปฏิจจสมุปบาท MD 408 สมาธิ 8 หน้า 217
หน้าที่ 217 / 265

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงความเสื่อมโทรมของขันธ์ 5 ในแต่ละภพแต่ละชาติ ซึ่งอธิบายถึงความแก่ในปัจจัยต่าง ๆ เช่น รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ที่ส่งผลต่อการรับรู้ ส่วนความสัมพันธ์ของปฏิจจสมุปบาทอธิบายว่าทุก ๆ องค์นั้นมีความสัมพันธ์ที่ผูกถึงกันและส่งผลต่อการเกิดขึ้นและดับไปของทุกข์ โดยแบ่งออกเป็นสายเกิดและสายดับ ซึ่งช่วยให้เราเข้าใจการดำรงอยู่และเกิดใหม่ในแต่ละภพ.

หัวข้อประเด็น

-ความเสื่อมโทรมของขันธ์ 5
-ความแก่และผลกระทบ
-ความสัมพันธ์ของปฏิจจสมุปบาท
-สายเกิดและสายดับ
-ความตายและการเกิดใหม่

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ความเสื่อมโทรมของขันธ์ 5 ในแต่ละภพแต่ละชาติ หมายถึง ความแก่ของรูปที่ปรากฏ ออกมาในลักษณะ อวัยวะหย่อนยาน หนังเหี่ยวย่น หูตาฝ้าฟาง ความแก่ของเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณที่ปรากฏออกมาในลักษณะ การรับรู้ต่างๆ ไม่ชัดเจน ความจำเสื่อม ความคิดไม่แจ่มชัด มรณะ คือ ความจุติ ความเคลื่อนไป ความทำลายไป ความหายไป ความตาย ความแตกแห่งขันธ์ ความทอดทิ้งร่างกาย ความแตกทำลายของขันธ์ 5 ซึ่งมี 2 อย่าง คือ ความแตกดับของขันธ์ 5 ในแต่ละขณะจิต และความแตกดับของขันธ์ 5 ในแต่ละภพแต่ละชาติ ความแตกดับในแต่ละขณะจิต หมายถึง ความแตกดับของอุปปัตติภพใหม่หลังจาก เกิดขึ้น และตั้งอยู่แล้วชั่วระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งภาษาอภิธรรม เรียกว่า ภังคะ ความแตกดับของขันธ์ 5 ในแต่ละภพแต่ละชาติ หมายถึง ความตาย กล่าวคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แตกสลาย ไม่สามารถประชุมกันเป็นชีวิตเดิมได้อีก ภาษาอภิธรรม เรียกว่า จุติ 10.4 ความสัมพันธ์ของปฏิจจสมุปบาท ปฏิจจสมุปบาทนั้นเป็นธรรมที่อิงอาศัยกันและกัน ทุกๆ องค์จะเกิดขึ้นอย่างมีสัมพันธ์ ผูกต่อกันเป็นลูกโซ่ กระทั่งเกิดเป็นวงเวียนแห่งสังสารวัฏ 10.4.1 ประเภทความสัมพันธ์ ความสัมพันธ์ของปฏิจจสมุปบาทแบ่งเป็น 2 สาย คือ สายเกิด (ความเกิดขึ้นแห่ง กองทุกข์) เรียกว่า สมุทยวาร และสายดับ (ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวล) เรียกว่า นิโรธวาร มีพระบาลีพุทธภาษิตโดยย่อ ดังนี้ 1. สายเกิด อิมสฺม สติ อิท อุปฺปชฺชติ อิมสฺสุปปาทา อิท อุปฺปชฺชติ เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น อภิธรรมปิฎก วิภังค์, มก. เล่มที่ 77 ข้อ 267 หน้า 436. * บรรจบ บรรณรุจิ, กระบวนธรรมเพื่อความเข้าใจชีวิต ปฏิจจสมุปบาท, กรุงเทพฯ : ธรรมสภา, 2535, หน้า 82 * สังยุตนิกาย นิทานวรรค, มก. เล่มที่ 26 ข้อ 114 หน้า 203. บ ท ที่ 10 ป ฏิ จ จ ส มุ ป บ า ท DOU 207
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More