ข้อความต้นฉบับในหน้า
2. ดับสังขารได้ วิญญาณจึงดับ
ดับสังขาร หมายถึง ดับความคิดที่เป็นตัวปรุงแต่ง หมายเอาเจตนา คือ ความตั้งใจ
ความจงใจ ซึ่งเป็นความคิดที่เป็นปรุงแต่ง ทั้งความคิดในทางที่ดี และความคิดในทางที่ชั่ว โดย
ปกติแล้วคนที่ยังมีอวิชชาหรือคนที่ยังเป็นปุถุชนอยู่ ย่อมคิดทำดีและทำชั่ว แต่คนที่ดับสังขาร
ได้แล้ว ไม่คิดทำทั้งดีและชั่ว คือ การไม่คิดทำดีเพื่อจะได้รับผลตอบแทน เช่น ทำดีเพื่อหวังจะได้ไป
เกิดในสวรรค์ หวังให้ได้ลาภ เป็นต้น
3. ดับวิญญาณได้ นามรูปจึงดับ
ดับวิญญาณ หมายถึง ดับการรับรู้ต่างๆ ได้แก่ ดับวิญญาณ 6 คือ ดับการรับรู้ทางตา
ดับการรับรู้ทางหู ดับการรับรู้ทางจมูก ดับการรับรู้ทางลิ้น ดับการรับรู้ทางกาย และดับการรับรู้
ทางใจ หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งคือ ดับการเห็นรูป ดับการได้ยินเสียง ดับการดมกลิ่น ดับการรู้รส
ดับการรู้สึกเย็น ร้อน อ่อน แข็ง ดับความคิดต่าง ๆ ตามที่มีอารมณ์ภายนอกมากระทบ คือ
ได้เห็น ได้ยิน ได้ดม ได้ลิ้ม และได้สัมผัสถูกต้อง
4. ดับนามรูปได้ สฬายตนะจึงดับได้
ดับนามรูป หมายถึง ดับอาการของจิต และดับพฤติกรรมทางกาย วาจา ทั้งที่เป็นบุญ
และที่เป็นบาป
5. ดับสฬายตนะได้ ผัสสะจึงดับ
ดับสฬายตนะ หมายถึง ดับแดนติดต่อหรือทวารทั้ง 6 คือ ดับตามให้เป็นแดนติดต่อกับรูป
ดับหูมิให้เป็นแดนติดต่อกับเสียงดับจมูกมิให้เป็นแดนติดต่อกับกลิ่นดับลิ้นมิให้เป็นแดนติดต่อกับ
รส กับกายมิให้เป็นแดนติดต่อกับสิ่งสัมผัสทางกาย ดับใจมิให้เป็นแดนติดต่อกับสิ่งสัมผัสทางใจ
6. ดับผัสสะได้ เวทนาจึงดับ
ดับผัสสะ หมายถึง ดับการกระทบถูกต้องกับสิ่งต่าง ๆ ที่ผ่านเข้ามาทางทวารทั้ง 6 คือ
ดับการกระทบถูกต้องทางตากับการกระทบถูกต้องทางหู ดับการกระทบถูกต้องทางจมูก
ดับการกระทบถูกต้องทางลิ้น ดับการกระทบถูกต้องทางกาย ดับการกระทบถูกต้องทางใจ
7. ดับเวทนาได้ ตัณหาจึงดับ
ดับเวทนา หมายถึง ดับความรู้สึกต่าง ๆ กล่าวคือ ความรู้สึกเป็นสุข ความรู้สึกเป็นทุกข์
ความรู้สึกว่าไม่สุขไม่ทุกข์ ได้แก่ รู้สึกเป็นกลาง ๆ หรือเฉย ๆ
บ ท ที่ 10 ป ฏิ จ จ ส มุ ป บ า ท
DOU 219