การเชื่อมต่อของอายตนะและผลของการรับรู้ MD 408 สมาธิ 8 หน้า 132
หน้าที่ 132 / 265

สรุปเนื้อหา

บทความนี้พูดถึงการเชื่อมต่อระหว่างอายตนะที่เรียกว่า ตา หู จมูก และอื่น ๆ กับผลที่เกิดขึ้น เช่น การเห็น สี การได้ยิน เสียง และการรู้กลิ่น นอกจากนี้ยังกล่าวถึงความสำคัญของอายตนะภายในและภายนอกในการกระตุ้นให้เกิดจิตและเจตสิกที่มีความเจริญกว้างขวางและพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเมื่ออายตนะทั้งสองประเภทมีกระทบกัน จะเกิดความรู้สึกและอารมณ์ที่ส่งผลต่อความคิดและการกระทำ เช่น กุศลและอกุศลธรรม การเข้าใจในอายตนะเหล่านี้จึงมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาจิตใจและเจตสิกธรรมต่าง ๆ เพื่อก้าวสู่ความสำเร็จในชีวิตทางจิตใจและการดำเนินชีวิตอย่างมีคุณค่า

หัวข้อประเด็น

-การเชื่อมต่อของอายตนะ
-ผลของการรับรู้
-จิตและเจตสิก
-กุศลและอกุศลธรรม
-การพัฒนาจิตใจ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

เช่น อายตนะที่เรียกว่าตา กระทบหรือเชื่อมต่อกับอายตนะที่เรียกว่าสี จึงมีการเห็นสี อายตนะที่เรียกว่าหู เชื่อมต่อกับอายตนะที่เรียกว่าเสียง จึงมีการได้ยินเกิดขึ้น อายตนะที่เรียกว่าจมูก เชื่อมต่อกับอายตนะที่เรียกว่ากลิ่น จึงมีการรู้กลิ่นเกิดขึ้น ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า อายตนะภายในและอายตนะภายนอก เป็นเหตุให้มีผลเกิดขึ้น จักขายตนะกับรูปายตนะ (เป็นเหตุ) การเห็น (เป็นผล) โสตายตนะกับสัททายตนะ (เป็นเหตุ) การได้ยิน (เป็นผล) ฆานายตนะกับคันธายตนะ (เป็นเหตุ) การได้กลิ่น (เป็นผล) ชิวหายตนะกับรสายตนะ (เป็นเหตุ) การรู้รส (เป็นผล) กายายตนะกับโผฏฐัพพายตนะ (เป็นเหตุ) การรู้สัมผัส (เป็นผล) มนายตนะกับธัมมายตนะ (เป็นเหตุ) การรู้เรื่องราวต่างๆ (เป็นผล) เหตุกับผลที่กล่าวมานี้ เป็นไปตามสภาวะ อายตนะต่าง ๆ เหล่านี้ มีการขวนขวาย พยายาม เพื่อให้ผลของตนเกิด สิ่งที่เชื่อมต่อเหล่านี้ ทำให้จิตและเจตสิกธรรมกว้างขวางเจริญขึ้น คือเมื่ออายตนะ ภายในและภายนอกมากระทบกันเข้า เกิดการรู้อารมณ์ทางทวารนั้น ๆ วิถีจิตต่างๆ มีจักขุทวาร วิถียอมเกิดขึ้น วิถีจิตนั้นเมื่อเกิด มิใช่เกิดเพียงวิถีเดียว แต่จะเกิดจำนวนนับไม่ถ้วน ในวิถีจิต หนึ่ง ๆ นั้น มีจิตหลายชนิดเกิดขึ้น ทั้งกุศลและอกุศล ทั้งวิบาก ทั้งกิริยา อาการที่เกิดขึ้นดัง กล่าวนี้เรียกว่า จิต เจตสิก เจริญกว้างขึ้น นอกจากนี้ กุศลธรรม มีศรัทธา สติ ปัญญา อกุศลธรรม มีโลภะ โทสะ เป็นต้น เมื่อเกิดในระยะแรกยังมีกำลังอ่อน แต่เมื่อวิถีจิตเกิดวนเวียนซ้ำหลายรอบเข้า กำลังแห่งกุศล และ อกุศลเหล่านี้ก็เพิ่มมากขึ้นตามลำดับ กระทั่งสำเร็จเป็นสุจริต ทุจริต ลักษณะดังกล่าวนี้เรียกว่า จิต เจตสิกมีความเจริญกว้างขวางเพราะอาศัยการกระทบเชื่อมต่อของอายตนะภายใน ภายนอกนี้เอง 122 DOU สมาธิ 8 วิ ปั ส ส น า กัมมัฏฐาน
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More