ข้อความต้นฉบับในหน้า
“กิเลสในกายมนุษย์ คือ อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ
กิเลสในกายทิพย์ คือ โลภะ โทสะ โมหะ
กิเลสในกายรูปพรหม คือ ราคะ โทสะ โมหะ
กิเลสในกายอรูปพรหม คือ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อวิชชานุสัย”
จากการที่พระมงคลเทพมุนีได้กล่าวไว้ถึงลักษณะของกิเลสในกายต่าง ๆ จะเห็นได้ว่า
ในบรรดากิเลสทั้ง 3 ตระกูล การแสดงตัวเป็นกิเลสที่หยาบที่สุด จะมีอยู่ในกายมนุษย์หยาบ
กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม ก็มีกิเลสทั้ง 3 ตระกูลนี้อยู่เช่นกัน แต่มีความละเอียด
ยิ่งขึ้นไป ยิ่งกายในแต่ละกายยิ่งละเอียดขึ้นไปเรื่อย ๆ กิเลสก็ยิ่งละเอียดขึ้นไปเรื่อยๆ เช่นกัน
ดังนั้นกิเลสจึงเรียกชื่อต่างกันไป เพราะธรรมดากิเลสก็มีทั้งหยาบและละเอียดเช่นกัน
ในส่วนของกายนอกภพ ตั้งแต่กายธรรมชั้นโคตรภูจิตหรือโคตรภูบุคคล กิเลสไม่สามารถ
เข้าไปบังคับได้ แต่ร้อยไส้ได้ พระมงคลเทพมุนีได้พูดถึงกิเลสที่อยู่ในกายนอกภพไว้ดังนี้
“กายธรรมเล่า เพราะสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส เป็นสังโยชน์ เป็นปัจจัย
คุ้มครองป้องกันไม่ให้หลุดไปจากโคตรภูบุคคลได้ ทั้งหยาบทั้งละเอียดเมื่อเข้าถึงพระโสดา เป็น
พระโสดาบันบุคคลแล้วทั้งหยาบทั้งละเอียด เพราะกามราคะ พยาบาทอย่างหยาบ บังคับอยู่
ทั้งหยาบทั้งละเอียด กายพระสกทาคา ทั้งหยาบทั้งละเอียดเล่า เพราะกามราคะ พยาบาทอย่าง
ละเอียดมันบังคับอยู่ ทั้งหยาบทั้งละเอียด พระสกทาคาไปไม่ได้ติดอยู่เพียงแค่พระสกทาคานี้
เมื่อเข้าถึงพระอนาคา ทั้งหยาบทั้งละเอียด ก็รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา สังโยชน์
เบื้องบนนี่เอง นี่เป็นปัจจัยคุ้มครองป้องกันไม่ให้เป็นพระอรหัตได้”
2.7 ลักษณะการครอบงำของกิเลส
ในพระไตรปิฎกได้กล่าวถึง อวิชชาที่เป็นต้นมูลของกิเลส แต่ไม่ได้อธิบายขั้นตอนใน
การเปลี่ยนเป็นกิเลสในอาการแบบต่างๆ และลักษณะการที่เข้ามาครอบงำ สำหรับในภาคปฏิบัติ
ที่เห็นด้วยจักขุของธรรมกาย จะรู้ว่าสิ่งที่เป็นรากเหง้าของกิเลสทั้งหลายทั้งปวง คือ อวิชชา
1 วัดปากน้ำภาษีเจริญ และสมาคมศิษย์หลวงพ่อวัดปากน้ำ, มรดกธรรมของหลวงพ่อวัดปากน้ำ (พระมงคล-
เทพมุนี), กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด, 2537, หน้า 3.
2 เล่มเดียวกัน หน้า 272.
บ ท ที่ 2 กิเลส DOU 37