ปฏิจจสมุปบาทและวัฏฏะแห่งชีวิตในพระพุทธศาสนา MD 408 สมาธิ 8 หน้า 227
หน้าที่ 227 / 265

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้กล่าวถึงการแสดงปฏิจจสมุปบาทซึ่งมีจุดเริ่มที่แตกต่างกัน เพื่อช่วยให้ผู้ปฏิบัติสามารถเข้าใจและกำจัดทุกข์ได้อย่างตรงจุด โดยเปรียบเทียบเป็นการหาทางออกจากเถาวัลย์ที่มีการตัดและดึงเพื่อใช้งาน นอกจากนี้ยังอธิบายความสัมพันธ์ในวัฏฏะ ทั้งกิเลสวัฏ, กรรมวัฏ, และวิปากวัฏ ซึ่งจัดได้ว่าเป็นกระบวนการที่วนเวียนกันไปอย่างไม่รู้จบ พระพุทธศาสนาชี้ให้เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างมีการเชื่อมโยงกันอย่างละเอียดและต้องเข้าใจในวิธีการที่ถูกต้องเพื่อการหลุดพ้นจากทุกข์ อย่างที่ได้อ้างอิงข้อมูลจากงานของวศิน อินทสระ.

หัวข้อประเด็น

-ปฏิจจสมุปบาท
-วัฏฏะแห่งชีวิต
-ผู้ปฏิบัติและการกำจัดทุกข์
-กิเลส วัฏ กรรม และ วิบาก

ข้อความต้นฉบับในหน้า

การที่พระพุทธองค์ทรงแสดงปฏิจจสมุปบาทโดยมีจุดเริ่มที่แตกต่างกันนี้ก็เป็นการแสดง ให้เหมาะสมกับเทศนาที่แสดงให้แต่ละบุคคล และเป็นไปเพื่อประโยชน์ในการกำจัดทุกข์ ตัดวงจร สังสารวัฏเช่นกัน อุปมาเหมือนการหาเถาวัลย์ของคนหนึ่ง เมื่อพบเถาวัลย์ตรงโคนเถาก่อนจึง ตัดเถาวัลย์ตรงโคนเถานั้น แล้วจึงดึงออกมาทั้งเถานำไปใช้ตามต้องการ คนหนึ่งพบเถาวัลย์ ตรงกลางเถาก่อนจึงตัดตรงกลางเถา แล้วดึงเอาท่อนปลายนำไปใช้ตามต้องการ คนหนึ่งพบ เถาวัลย์ตรงปลายเถาก่อน จึงจับปลายเถาสาวเข้าไปหาโคน แล้วตัดที่โคนดึงออกมา นำไปใช้ ตามต้องการคนหนึ่งพบเถาวัลย์ตรงกลางเถาก่อนจึงตัดที่โคนแล้วดึงเอาท่อนต้นทั้งหมดนำไปใช้ ตามต้องการ 10.5 ปฏิจจสมุปบาทในฐานะเป็นวัฏฏะ พระพุทธศาสนาแสดงวัฏฏะ คือ อาการวนเวียนแห่งชีวิตที่ดำเนินไป เป็นเหตุเป็นผล สืบช่วงต่อกันไว้ 3 อย่าง 1. กิเลสวัฏ คือ แรงผลักดันของกิเลส อันเป็นเหตุให้เกิดการกระทำต่าง ๆ ที่ดีบ้าง ชั่วบ้าง ซึ่งจะต้องมีผลเป็นสุขบ้างเป็นทุกข์บ้าง 2. กรรมวัฏ คือ การกระทำต่างพร้อมทั้งเจตนา หรือเจตจำนง ซึ่งก่อให้เกิดผลต่อไป 3. วิปากวัฏ คือ สภาพชีวิต หรือความเป็นไปอันเป็นผลของกรรม ถ้าเป็นผลดี บุคคล ย่อมชอบใจ มีความเพลิดเพลิน หมุนไปสู่กิเลสสายราคะหรือโลภะต่อไปอีก ถ้าเป็นผลร้าย ไม่พอใจ ก่อให้เกิดโทมนัส โกรธเคืองมุ่งร้าย ก่อให้เกิดกิเลสโทสะอย่างไม่รู้เท่าทัน กลายเป็น คนหลง ทำให้เพิ่มกิเลสสายโมหะ อันเป็นต้นเค้าของโลภะและโทสะด้วย สรุปก็คือ ผลนำไปสู่เหตุ ต่อไปอีก กิเลส กรรม วิบาก และกิเลสอีก เวียนกันอยู่อย่างนี้ สำหรับปฏิจจสมุปบาท เมื่อจัดลงในวัฏฏะ 3 ได้ดังนี้ 1. อวิชชา ตัณหา อุปาทาน จัดเป็นกิเลสวัฏ 2. สังขาร (กรรม) ภพ (ส่วนที่เป็นกรรมภพ) จัดเป็นกรรมวัฏ 3. วิญญาณ นามรูป อายตนะ ผัสสะ เวทนา ภพ (ส่วนที่เป็นอุปัตติภพ) ชาติ ชรามรณะ จัดเป็นวิปากวัฏ 1 วศิน อินทสระ, หลักคำสอนสำคัญในพระพุทธศาสนา, กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์บรรณาการ, 2524 หน้า 650-651 บ ท ที่ 10 ป ฏิ จ จ ส มุ ป บ า ท DOU 217
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More