ข้อความต้นฉบับในหน้า
จะทำให้วิถีจิตเกิดขึ้น ในวิถีหนึ่งก็จะมีจิตเกิดขึ้นหลายชนิด จิตที่เป็นกุศลบ้าง อกุศลบ้าง
วิบากบ้าง กิริยาบ้าง เกิดขึ้นหลายๆ ชนิด แล้ววิถีจิตนี้เกิดขึ้นวนเวียนหลายๆ รอบ ฉะนั้นจิตก็
เกิดขึ้นมากมาย เมื่ออายตนะกระทบกัน เรียกว่าอายตนะนั้นเป็นธรรมชาติที่ยังให้จิตเจตสิกนั้น
กว้างขวางเจริญขึ้น พูดถึงจิตแล้วก็ต้องรวมเจตสิกด้วย เพราะมันเกิดร่วมกัน อีกลักษณะหนึ่ง คือ
เมื่อวิถีจิต เกิดขึ้นวนเวียนหลายๆ รอบนั้น ในวิถีจิตหนึ่งนั้นก็เป็นกุศลบ้าง อกุศลบ้าง ฉะนั้นกุศล
อกุศล เมื่อวิถีจิตเกิดขึ้นบ่อยๆ มากขึ้น มันก็จะมีกำลังมากขึ้น สำเร็จเป็นสุจริต ทุจริตต่าง ๆ ได้
เป็นกายสุจริต ทุจริต วจีสุจริต ทุจริต มโนสุจริต ทุจริต เรียกว่าอายตนะทำให้กุศล อกุศล
กว้างขวางเจริญขึ้น
นัยที่ 3 อายตนะ เป็นแดนติดต่อ ให้จิตหรือวิญญาณกับอารมณ์คือสิ่งเร้าได้ติดต่อ
กันแล้วสำเร็จเป็นการเห็น การได้ยิน
6.2 คุณสมบัติของอายตนะ
ในบทอธิบายเรื่องอายตนะ 12 พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรได้กล่าวไว้หลายนัย ว่า
1. อายตนะ 12 ชื่อว่า อายตนะเพราะสืบต่อ สืบต่อแห่งการมา หรือเพราะนำไปซึ่ง
การสืบต่อ ในเรื่องนี้พระอรรถกถาจารย์ได้อธิบายเพิ่มเติมไว้ว่า จริงอยู่ ธรรม คือจิตและเจตสิก
ในบรรดาจักขุและรูป เป็นต้น เป็นทวารและอารมณ์นั้น ๆ ย่อมมา ย่อมตั้งขึ้น ย่อมสืบต่อ คือ
ย่อมพยายามโดยกิจของตน ๆ มีการเสวยอารมณ์เป็นต้น ธรรมคือจิตและเจตสิกเหล่านั้น ย่อม
แผ่ไปสู่ธรรมเหล่านั้น ในธรรมอันเป็นทางมา และสังสารทุกข์สืบต่อกันไปอย่างมากมาย เป็น
ไปในสงสารอันยืดยาวนานหาที่สุดมิได้นี้ยังไม่หมุนกลับตราบใด ธรรมคือจิตและเจตสิกเหล่านั้น
ก็ย่อมนำไป คือย่อมให้เป็นไปอยู่ตราบนั้น
เราจึงสามารถกล่าวได้ว่า เป็นที่สืบต่อ คือเป็นที่ต่อแห่งขันธ์ที่ก่อกำเนิด ยังธรรม
บ
เหล่านั้นให้กว้างออกไปเหมือนสังสารวัฏที่ยังเป็นไปอยู่ฉันใด อายตนะก็ยังนำธรรมเหล่านั้นให้
เป็นอยู่ฉันนั้น และเป็นที่นำอารมณ์มากระทบจิตและเจตสิก มีทวารนั้นๆ เป็นอารมณ์ อายตนะคือ
ตาและรูปเป็นต้น ย่อมก่อตั้งขึ้นพยายามทำกิจของตน ๆ มีการกินเป็นต้น ในทวารนั้นๆ
หน้า 49.
1 บรรจบ บรรณรุจิ, กระบวนธรรมเพื่อความเข้าใจชีวิตในปฏิจจสมุปบาท, กรุงเทพฯ : ธรรมสภา, 2535
* ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค, มก. เล่มที่ 68 หน้า 229-231.
บ ท ที่ 6 อ า ย ต น ะ 12
DOU 115