ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวิปัสสนา MD 408 สมาธิ 8 หน้า 23
หน้าที่ 23 / 265

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาดังกล่าวอธิบายหลักวิปัสสนาและการแยกแยะรูปนามในชีวิต เพื่อเห็นความเป็นจริงและการเข้าใจผิดที่เกิดจากการมองเห็นไม่ตรงตามความเป็นจริง การบรรลุวิปัสสนาญาณและการมองเห็นไตรลักษณ์ขอรูปนามและการแบ่งแยกชีวิตออกเป็นสองระดับ โดยเน้นความสำคัญของการพิจารณาธรรมและการใช้ภาษาทางกายในการสื่อสารที่ทำให้เกิดความเข้าใจตรงกันในสังคม เรื่องนี้เป็นพื้นฐานสำคัญในการเจริญวิปัสสนากรรมฐานและพัฒนาปัญญาในตัวบุคคล.

หัวข้อประเด็น

-วิปัสสนา
-รูปนาม
-อริยสัจ
-ปฏิจจสมุปปาท
-วิปลาสธรรม
-สมมติสัจจะ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

3. ธาตุ 18 คือ สิ่งที่ทรงไว้ซึ่งสภาพของตน มี 18 4. อินทรีย์ 22 คือ ความเป็นใหญ่ มี 22 5. อริยสัจ 4 คือ ความจริงอันประเสริฐ มี 4 6. ปฏิจจสมุปปาท 12 คือ ความประชุมพร้อมด้วยเหตุผล มี 12 ถ้ากล่าวโดยย่อภูมิของวิปัสสนามีเพียง 2 อย่าง ได้แก่ รูปธรรม และนามธรรม ชั้นต้น ต้องพิจารณาให้เห็นรูปนามก่อน แล้วกำหนดดูจนเห็นปัจจัยที่ให้เกิดรูปนาม ต่อจากนั้นจึงเพ่ง ให้เห็นแจ้งไตรลักษณ์ว่า รูปนามมีลักษณะที่ไม่เที่ยง ทนอยู่ไม่ได้ บังคับบัญชาว่ากล่าวให้เป็น ไปตามใจชอบก็ไม่ได้ เมื่อเพ่งจนเห็นไตรลักษณ์ ก็จะได้ละความเห็นผิด เข้าใจผิด จำผิด ว่ารูป นามเป็นของเที่ยง เป็นสุขเป็นตัวตน ที่พึงบังคับบัญชาได้ ตลอดจนว่าเป็นสิ่งที่สวยงาม การเห็นผิด เข้าใจผิด จำผิดนี้เรียกว่า วิปลาสธรรม คือเป็นสิ่งที่วิปลาสคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง ธรรมทั้ง 6 หมวดนี้เป็นพื้นภูมิในการนำไปเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ปัญญาที่สามารถ แยกความเป็นตัวตนเราเขา ความเป็นสัตว์ บุคคลออกได้ ต้องเป็นปัญญาที่ได้มาจากการเจริญ วิปัสสนากรรมฐาน จนบรรลุวิปัสสนาญาณ 1.2.4 ชีวิตคือรูปนาม การมองเห็นสิ่งที่เป็นรูปนามนี้ ไม่ใช่จะเห็นได้ด้วยการพิจารณาธรรมดาตามที่เข้าใจ เพราะจะต้องเห็นตัวของรูปนามจริงๆ ว่ามีลักษณะเป็นเช่นไร แต่ในการพิจารณาแบบสุตมย ปัญญาและจินตามยปัญญาก็พอจะให้เข้าใจ ว่าโดยความเป็นจริงเกี่ยวกับชีวิตของเรานั้น สามารถแบ่งแยกชีวิตออกเป็นได้ 2 ระดับ คือ 1) สมมติสัจจะ ความจริงโดยสมมติ ความจริงโดยสมมติ เรียกว่าสมมติสัจจะ เป็นความจริงที่ผู้คนในสังคมใดสังคมหนึ่ง บัญญัติ สมมติ แต่งตั้ง วางกำหนดกฎเกณฑ์ ทำข้อตกลงยินยอมรับกัน มีขอบเขต มีกำหนด มีระยะเวลา ส่วนใหญ่แสดงออกด้วยการใช้ทั้งภาษาทางกาย ภาษาพูด ภาษาเขียน เพื่อสื่อ ความหมายให้เข้าใจตรงกัน ตัวอย่างเช่น เมื่อใครได้รับการตั้งชื่อว่าชื่อใด เมื่อมีผู้เรียกชื่อนั้นขึ้น ย่อมหมายความ ถึงคนผู้นั้น จะกำหนดเจาะจงไว้ จนตลอดระยะเวลาที่ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง แต่เมื่อใดที่ คนนั้นแก้ไขเปลี่ยนแปลงชื่อตนเองเสียใหม่ ชื่อเดิมย่อมเป็นอันล้มเลิก ไม่ใช้อีกต่อไป บ ท ที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ วิปัสสนา DOU 13
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More