ข้อความต้นฉบับในหน้า
แก่ชาวโลก จึงทรงน้อมพระทัยเพื่อการขวนขวายน้อยที่จะไม่แสดงธรรมโปรดเวไนยสัตว์ เพราะ
ทรงดำริว่า
“ธรรมที่เราได้บรรลุนี้ลึก เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก เป็นธรรมสงบ ประณีต หยั่งไม่ได้
ด้วยความตรึกละเอียดรู้ได้แต่บัณฑิต ส่วนหมู่สัตว์นี้เป็นผู้ยินดีเพลิดเพลินใจในอาลัย ยากที่จะเห็น
ปฏิจจสมุปบาทที่เป็นปัจจัยแห่งธรรมเหล่านี้ได้ และยากที่จะเห็นธรรมที่สงบสังขารทั้งปวง สลัด
อุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่สำรอก เป็นที่ดับ เป็นที่ออกจากตัณหา ก็ถ้าเราจึงแสดงธรรม
และคนอื่นไม่รู้ทั่วถึงธรรมของเรา เราก็จะลำบากเหน็ดเหนื่อยเปล่า”
พระดำริตามที่กล่าวนี้ บ่งชัดว่า ธรรมะที่พระพุทธองค์ตรัสรู้นั้นลึกซึ้งมาก ยากแก่
การเข้าใจและรู้ตามจริง ๆ และหากศึกษาพุทธประวัติช่วงตรัสรู้ใหม่ๆ จะเห็นได้ว่า ภายหลังจากที่
พระพุทธองค์ตรัสรู้แล้ว ทรงประทับนั่งเสวยวิมุตติสุข และพิจารณาทบทวนธรรมะที่ตรัสรู้นั้นเป็น
เวลา 7 สัปดาห์ ทรงย้ายที่ประทับวนเวียนอยู่บริเวณใกล้กับต้นโพธิ์นั้น ก็เพื่อทบทวนพิจารณา
ปฏิจจสมุปบาทนี้ แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายในอดีตก็ได้ตรัสรู้ปฏิจจสมุปบาทนี้
เช่นเดียวกัน ในมหาปทานสูตรที่ได้กล่าวถึงประวัติพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 7 พระองค์ ก็ได้แสดงถึง
การตรัสรู้ปฏิจจสมุปบาทของพระวิปัสสีพุทธเจ้า และพระพุทธองค์ก็ตรัสว่าเป็นหนทางเก่าแก่และ
นครเก่าที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ ทรงเคยดำเนินมาแล้ว
มีเหตุการณ์ครั้งหนึ่งที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสกับพระอานนท์เกี่ยวกับปฏิจจสมุปบาท
โดยที่พระอานนท์กราบทูลพระพุทธองค์ว่า ปฏิจจสมุปบาทเป็นหลักเหตุผลที่เข้าใจง่ายสำหรับ
ท่าน แต่พระพุทธองค์ก็ได้ตรัสห้ามพระอานนท์ว่า
“เธออย่าพูดอย่างนั้น อานนท์ ปฏิจจสมุปบาทนี้ ลึกซึ้งสุดประมาณและปรากฏเป็น
ของลึก ดูก่อนอานนท์ เพราะไม่รู้จริง เพราะไม่แทงตลอด ซึ่งธรรมอันนี้ หมู่สัตว์นี้ จึงเกิดเป็น
ผู้ยุ่งประดุจด้ายของช่างหูกเกิดเป็นปมประหนึ่งกระจุกด้วย เป็นผู้เกิดมาเหมือนหญ้ามุงกระต่าย
และหญ้าปล้อง จึงไม่พ้นอบาย ทุคติ วินิบาต สงสาร”
จากพระพุทธดำริของพระพุทธองค์และเหตุการณ์ที่ได้ตรัสกับพระอานนท์ ชี้ให้เห็นว่า
ปฏิจจสมุปบาทเป็นธรรมลึกซึ้ง ควรแก่การศึกษาและทำความเข้าใจเป็นพิเศษ ดังนั้นจึงควรได้
ศึกษาเพิ่มเติมในรายละเอียดต่อไป
1 มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์, มก. เล่มที่ 18 ข้อ 321 หน้า 420.
2 ทีฆนิกาย มหาวรรค, มก. เล่มที่ 13 ข้อ 42 หน้า 40.
* ทีฆนิกาย มหาวรรค, มก. เล่มที่ 13 ข้อ 57 หน้า 165.
บ ท ที่ 10 ป ฏิ จ จ ส มุ ป บ า ท
DOU 201