การทำความเข้าใจเกี่ยวกับกิเลส MD 408 สมาธิ 8 หน้า 51
หน้าที่ 51 / 265

สรุปเนื้อหา

บทความนี้อธิบายถึงกิเลสซึ่งครอบงำจิตใจและเป็นอุปสรรคต่อความสุข เป็นอันตรายต่อการพัฒนาจิตที่บริสุทธิ์ โดยยกตัวอย่างการทำลายของกิเลส เช่น โลภะ, โทสะ, โมหะ ซึ่งทำให้ไม่เห็นความจริง คนเราต้องต่อสู้กับกิเลสในใจตัวเอง ด้วยการฝึกเป็นศีล สมาธิ และปัญญา เพื่อหลุดพ้นจากกิเลสและเข้าถึงพระธรรมกายภายใน เมื่อศึกษาบทที่ 2 จบแล้ว นักเรียนควรทำแบบประเมินสถานะของตนเองและเตรียมตัวเรียนบทที่ 3 ต่อไป.

หัวข้อประเด็น

- ความหมายของกิเลส
- ผลกระทบของกิเลสภายใน
- วิธีการควบคุมกิเลส
- การฝึกอบรมจิตใจ
- การพัฒนาศีล สมาธิ และปัญญา
- ความสำคัญของการเข้าใจธรรมของจิต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

“กิเลสทั้งปวง... ย่อมครอบงำ ปราบปราม กดขี่ ท่วมทับ กำจัด ย่ำยี บุคคล... ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อม เพื่ออันตรธานไปแห่งกุศลธรรม.... สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ร่วมกับกิเลสอันอยู่อาศัยในภายใน ผู้อยู่ ร่วมกับกิเลสที่ฟุ้งซ่าน ย่อมอยู่ลำบาก ไม่ผาสุก.... โลภะ... โทสะ โมหะเป็นมลทินในภายใน เป็นอมิตรในภายใน เป็น ข้าศึกในภายในเป็นเพชฌฆาตในภายในเป็นศัตรูในภายใน... ยังสิ่งที่ไม่เป็น ประโยชน์ให้เกิด... ยังจิตให้กำเริบ... เป็นภัยเกิดขึ้นในภายใน พาลชน ย่อม ไม่รู้สึกภัยนั้น คนผู้หลงแล้ว ย่อมไม่รู้อรรถ... ย่อมไม่เห็นธรรม เมื่อใด ความหลงครอบงำนรชน เมื่อนั้น นรชนนั้น ย่อมมีความมืดตื้อ... โลภะ โทสะ โมหะเมื่อเกิดขึ้นในภายในแห่งบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อมิใช่ ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่ผาสุก..... ไม่ยินดีกุศล ยินดีแต่ กามคุณ ทำให้ขนลุก บาปวิตกในใจ ตั้งขึ้นแต่อัตภาพนี้แล้ว ผูกจิตไว้ เหมือนพวกเด็กผูกกาที่ข้อเท้าไว้ ฉะนั้น....” เมื่อพิจารณาเราจะเห็นได้ว่า ตราบใดที่ยังไม่หมดกิเลส กิเลสยังคงมีอยู่ยังหลงเหลือเหตุ เศษเชื้อของกิเลสอยู่ในใจมนุษย์และสรรพสัตว์ทั้งหลายก็ยังอาจต้องกระทำกรรมที่เป็นบาปอกุศล อันเป็นเหตุให้ประสบทุกข์โทษภัยมากมาย เวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสารอย่างไม่มีวันสิ้นสุด กิเลสแม้ยังมีอยู่ในใจ แต่เราย่อมเป็นใหญ่ในใจของเราเอง ด้วยการหมั่นฝึกฝนอบรมใจ ของตน เจริญศีล สมาธิ ปัญญา ให้ใจใสสะอาดบริสุทธิ์ หยุดนิ่ง เข้าถึงพระธรรมกายภายใน และไป ปราบต้นเหตุของกิเลสทั้งหลาย เราทุกคนก็ย่อมเป็นผู้ที่บริสุทธิ์ หลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวงอย่าง แท้จริง กิจกรรม หลังจากนักศึกษาได้ศึกษา บทที่ 2 กิเลส จบโดยสมบูรณ์แล้ว โปรดทำแบบประเมินตนเองหลังเรียนบทที่ 2 และกิจกรรม ในแบบฝึกปฏิบัติบทที่ 2 แล้วจึงศึกษาบทที่ 3 ต่อไป 1 ขุททกนิกาย มหานิทเทส กามสุตตนิทเทส, มก. เล่มที่ 66 หน้า 311. บ ท ที่ 2 กิเลส DOU 41
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More