ข้อความต้นฉบับในหน้า
การทำให้ใจหยุดของพระมงคลเทพมุนี ก็คือ การทำให้เห็น จำ คิด รู้ มารวมหยุดเป็น
จุดเดียวกันอยู่ที่กลางกายมนุษย์ คือ ตรงศูนย์กลางกาย ซึ่งถือว่าเป็นหลักการในการทำใจหยุด
สำหรับวิธีการที่จะทำให้เห็น จำ คิด รู้ รวมเป็นหนึ่งเดียวกัน ท่านได้ให้แนวทางไว้ว่า
“ต้องเอาใจไปหยุดตรงกลางนั้น เมื่อเอาใจไปหยุดอยู่กลางนั้นได้แล้ว ก็ใช้
สัญญาจำให้มั่นหยุดนิ่งบังคับให้นิ่งเชียวถ้าไม่นิ่งก็ต้องใช้บริกรรมภาวนาบังคับไว้
บังคับให้ใจหยุด บังคับหนักเข้า หนักเข้า หนักเข้า พอถูกส่วนเข้า ใจหยุดนิ่ง
ใจหยุด หยุด พอใจหยุดเท่านั้นแหละถูกตัวสมถะแล้ว หยุดนั่นแหละเป็นตัวสมถะ
หยุดนั่นเองเป็นตัวสำเร็จ ทั้งทางโลกและทางธรรมสำเร็จหมด”
991
การทำให้เห็น จำ คิด รู้ รวมเป็นหนึ่งเดียวกัน ท่านใช้คำว่า บังคับให้นิ่ง บังคับให้ใจหยุด
ด้วยบริกรรมภาวนา ทำไปจนกระทั่งถูกส่วน จึงถูกตัวสมถะ คือ ใจหยุดได้ หรืออาจใช้บริกรรม
นิมิตเป็นดวงแก้วใส ควบคู่กับบริกรรมภาวนาก็ได้
1.1.4 กระบวนการเข้าถึงธรรม
เมื่อสามารถทำใจให้หยุด คือ ทำให้เห็น จำ คิด รู้ รวมเป็นหนึ่งเดียวกันแล้ว ก็จะเกิด
องค์ฌานคือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา มากำจัดนิวรณ์ทั้ง 5 นิวรณ์นี้เป็นตัวที่กั้นระหว่าง
ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์กับใจไม่ให้มารวมกัน เมื่อนิวรณ์หมดไป ก็จะทำให้ใจตกศูนย์คือ
ใจจะตกลงไปดูดเอาดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ซึ่งอยู่ที่ฐานที่ 6 ขึ้นมาฐานที่ 7 แล้วก็เห็น
ดวงปฐมมรรค
ดังนั้นเมื่อใจหยุดก็จะเข้าถึงดวงธรรมภายในและเมื่อใจหยุดมากขึ้นก็จะเข้าถึงกายต่างๆ
จนกระทั่งเข้าถึงพระธรรมกาย จากนั้นจึงอาศัยพระธรรมกาย เพื่อเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานต่อ
ไป
1.2 หลักการเจริญวิปัสสนา
ดังที่ได้เคยกล่าวไปแล้วเกี่ยวกับวิปัสสนา ในหลักสมถวิปัสสนากัมมัฏฐาน เพื่อ
เป็นการทบทวนจะขออธิบายเพิ่มเติมดังนี้
* เอกสารรวบรวมพระธรรมเทศนา (พระมงคลเทพมุนี), กรุงเทพฯ : อาคารทวีสินคอมเพล็กซ์, 2539, หน้า 5.
10 DOU สมาธิ 8 วิ ปั ส ส น า กัมมัฏฐาน