นิโรธอริยสัจในพระพุทธศาสนา MD 408 สมาธิ 8 หน้า 194
หน้าที่ 194 / 265

สรุปเนื้อหา

ในทัศนะพระมงคลเทพมุนีว่าตัณหาที่เกิดขึ้นในภพ 3 ทำให้มนุษย์ยังคงทุกข์ แม้จะหลุดพ้นจากกามภพไปสู่รูปภพและอรูปภพก็ยังพบความทุกข์ได้อยู่ นิโรธหมายถึงการดับทุกข์ด้วยการสงบกิเลส ซึ่งมี 5 ขั้นตอน นิโรธที่กล่าวถึงในธัมมจักกัปปวัตนสูตรคือการดับโดยการปล่อยวางตัณหาอย่างสิ้นเชิง ผู้ที่ได้ฌานสามารถข่มกิเลสได้ชั่วคราว ต้องใช้กำลังของอริยมรรคเพื่อตัดขาดกิเลสอย่างเด็ดขาด

หัวข้อประเด็น

-นิโรธอริยสัจ
-การดับทุกข์
-ความหมายของนิโรธ
-การจัดการกับตัณหา
-วิธีการดับกิเลส

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ในทัศนะของพระมงคลเทพมุนีนั้น มุ่งหมายเอาตัณหาที่เป็นไปในภพ 3 ที่ทำให้มนุษย์ ติดอยู่กับตัณหาเป็นชั้น ๆ ไป ในชั้นของกามภพ เป็นสุขอย่างหยาบที่ให้ทุกข์มากกว่าภพที่สูง ขึ้นไป แต่เมื่อหลุดจากกามภพที่มีทุกข์เผ็ดร้อน ก้าวเข้าสู่รูปภพของพวกพรหม นั่นก็มีทุกข์น้อยลง เสวยสุขจากรูปฌานที่มีความปราณีตกว่า แต่ก็ยังมีทุกข์ ก้าวพ้นจากรูปภพนั้นไปถึงอรูปภพ ซึ่งมีความสุขประณีตจนพวกพรหมเป็นจำนวนมากมีความเข้าใจว่าเป็นพระนิพพานแต่แม้กระนั้น ที่นั่นก็ยังมีความทุกข์อยู่ ความทุกข์อันเกิดจากตัณหา 3 นี้ ได้มีแล้วแก่สรรพสัตว์ทั้งหลายตาม ลำาดับของภพ 9.3.3 นิโรธอริยสัจ นิโรธเรียกเต็มว่า ทุกขนิโรธ แปลว่า ความดับทุกข์ เพราะความสิ้นไปของตัณหา ดังพระพุทธพจน์ในธัมมจักกัปปวัตนสูตรที่ว่า โย ตสฺสาเยว ตณฺหาย อเสสวิราคนิโรโธ จาโค ปฏินิสสคโค มุตติ อนาลโย ความดับเพราะคายออกโดยไม่เหลือซึ่งตัณหานั้น การสละละทิ้งพ้นไปความไม่มีอาลัย ในตัณหานั้น นี่แหละคือทุกขนิโรธ โดยใจความสำคัญ นิโรธคือความดับทุกข์เพราะดับกิเลสได้นั่นเอง คำว่านิโรธก็ดี วิมุตติ ปหานะ วิเวก วิราคะหรือโวสสัคคะ (ความสละ ความปล่อยวาง) ก็ดี มีความหมายอย่างเดียวกัน ท่านแสดงไว้ 5 อย่าง คือ 1. ตทังคนิโรธ ความดับด้วยองค์นั้นๆ หรือดับกิเลสได้ชั่วคราว เช่น เมื่อเมตตากรุณา เกิดขึ้นความโกรธและความคิดพยาบาทคือความคิดเบียดเบียนย่อมดับไป เมื่ออสุภสัญญาคือ ความกำหนดว่าไม่งามเกิดขึ้น ราคะความกำหนัดยินดีในกามคุณ 5 ย่อมดับไป รวมความว่า ดับกิเลสด้วยองค์ธรรมที่เกิดขึ้นเป็นครั้งคราว 2. วิกขัมภนนิโรธ ดับกิเลส หรือข่มกิเลสไว้ได้ด้วยกำลังฌาน เช่น ข่มนิวรณ์ 5 ไว้ด้วย กำลังแห่งฌาน ตั้งแต่ปฐมฌานเป็นต้นไป ตลอดเวลาที่ฌานยังไม่เสื่อม บุคคลผู้ได้ฌานย่อมมี อาการเสมือนหนึ่งผู้ไม่มีกิเลส ท่านเปรียบเหมือนหญ้าที่ศิลาทับไว้ หรือเหมือนโรคบางอย่างที่ ถูกคุมไว้ด้วยยา ตลอดเวลาที่ยามีกำลังอยู่ โรคย่อมสงบระงับไป 3. สมุจเฉทนิโรธ ความดับกิเลสอย่างเด็ดขาดด้วยกำลังแห่งอริยมรรค กิเลสใดที่ อริยมรรคตัดแล้วย่อม เป็นอันตัดขาดไม่กลับเกิดขึ้นอีก เปรียบเหมือนต้นไม้ที่ถูกถอนขึ้นทั้ง รากและเผาไฟทิ้ง เป็นอันตัดได้สิ้นเสร็จเด็ดขาด ไม่ต้องกังวลว่าจะเกิดขึ้นอีก ตัวอย่างเช่น การตัดกิเลสของพระอริยบุคคล 5 จำพวกมีพระโสดาบัน เป็นต้น 184 DOU สมาธิ 8 วิ ปั ส ส น า กัมมัฏฐาน
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More