อายตนะ 12: ความหมายและบทบาทในวิปัสสนา MD 408 สมาธิ 8 หน้า 124
หน้าที่ 124 / 265

สรุปเนื้อหา

ในบทเรียนนี้นักศึกษาได้ศึกษาอายตนะ 12 ซึ่งมีความหมายหลายประการ โดยเฉพาะการทำให้จิตและเจตสิกกว้างขวางขึ้น อายตนะแบ่งออกเป็นอายตนะภายในและภายนอก โดยมีตัวอย่างจากประสาทตากับสีในการทำให้เกิดการเห็น การกระทำของอายตนะส่งผลต่อการรับรู้ของจิตและความเข้าใจในธรรมชาติของมันอันเกิดขึ้นตามธรรมชาติ ไม่ใช่ด้วยความพยายาม ประเด็นสำคัญคือการเชื่อมโยงระหว่างประสาทรับรู้กับอารมณ์ที่เกิดขึ้น.

หัวข้อประเด็น

-ความหมายของอายตนะ
-อายตนะภายในและภายนอก
-ความสัมพันธ์ระหว่างจิตและอารมณ์
-การเห็นและการรับรู้ผ่านอายตนะ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บทที่ 6 อายตนะ 12 ในบทเรียนที่แล้ว นักศึกษาได้ศึกษาเกี่ยวกับขันธ์ 5 สำหรับในบทเรียนนี้นักศึกษาจะ ได้ศึกษาวิปัสสนาภูมิลำดับต่อไป คือ อายตนะ 12 6.1 ความหมายของอายตนะ อายตนะ มีความหมาย 3 นัย คือ 1. อายตนะ หมายความว่า ธรรมที่มีสภาพคล้ายกับว่ามีความพยายามเพื่อยังผลของตน ให้เกิดขึ้น เช่น จักขายตนะกับรูป เป็นเหตุให้การเห็นเกิดขึ้น การเห็นจัดเป็นผล เป็นต้น 2. อายตนะ หมายความว่า ธรรมที่ทำซึ่งจิตและเจตสิกให้กว้างขวางเจริญขึ้น 3. อายตนะ หมายถึง อวัยวะที่ต่อระหว่างจิตกับอารมณ์ นัยที่ 1 อายตนะ มีความหมายว่า ธรรมใดที่มีสภาพคล้ายกับยังผลของตนให้เกิดขึ้น ธรรมนั้นชื่อว่า อายตนะ (อายตนะภายในมี 6 และอายตนะภายนอกมี 6) เช่น ตากับสีเป็นอายตนะคู่ที่ 1 กระทบกัน จักขุปสาทคือประสาทตากับรูปารมณ์ คือ สีต่าง ๆ กระทบกันแล้วก็ยังสภาพเห็นให้เกิดขึ้น สภาพเห็นนั้นเป็นผลเกิดขึ้น สีกับตากระทบกันการเห็นก็ เกิดขึ้น ฉะนั้นประสาทตากับสีซึ่งเป็นอายตนะ มีสภาพคล้ายกับยังผลของตนให้เกิดขึ้นเพราะว่า ตากับสีนั้นที่จริงแล้วมันก็ไม่ได้มีความขวนขวายพยายามจะให้เกิดการเห็นแต่อย่างใด มันเป็น ไปโดยธรรมชาติ แต่ว่าเมื่อสีกระทบตาแล้วมันก็เกิดการเห็นขึ้น มีสภาพคล้ายๆ กับจะยังผลให้ เกิดขึ้น ผลของตนให้เกิดขึ้นระหว่างตาก็คือสภาพเห็น นั่นเป็นผลเกิดขึ้น นัยที่ 2 ความหมายของคำว่าอายตนะอีกประการหนึ่ง ก็คือ กระทำซึ่งจิตและเจตสิก นั้นให้กว้างขวางเจริญขึ้น ก็หมายความว่า เมื่ออายตนะภายในและภายนอกกระทบกันแล้ว 1 พันเอก ปิ่น มุทุกันต์, ประมวลศัพท์ศาสนา, กรุงเทพฯ : คลังวิทยา, หน้า 703. 2 เจตสิก หมายถึง อารมณ์ที่เกิดกับจิต 114 DOU สมาธิ 8 วิ ปั ส ส น า กัมมัฏฐาน
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More