ผัสสะและเวทนาในพระพุทธศาสนา MD 408 สมาธิ 8 หน้า 214
หน้าที่ 214 / 265

สรุปเนื้อหา

ผัสสะมี 6 อย่าง ประกอบด้วยจักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส และมโนสัมผัส โดยแต่ละสัมผัสต้องมีธรรม 3 อย่างมาประจวบกันจึงเกิดผัสสะ ส่วนเวทนานั้นเป็นการเสวยอารมณ์ที่เกิดจากสัมผัสดังกล่าว มี 6 ประการ ขึ้นอยู่กับที่มาของสัมผัส เช่น เวทนาเกิดจากสัมผัสทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ นอกจากนี้ยังแบ่งเวทนาออกเป็น 5 ประเภทตามลักษณะการรู้สึก เช่น ความรู้สึกเป็นสุขทางกายและใจ เป็นต้น.

หัวข้อประเด็น

-ผัสสะ
-เวทนา
-การเสวยอารมณ์
-ความสัมพันธ์ระหว่างผัสสะและเวทนา
-การรู้สึกทางกายและใจ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ผัสสะมี 6 อย่าง คือ 1. จักขุสัมผัส (ความกระทบทางตา) 2. โสตสัมผัส (ความกระทบทางหู) 3. ฆานสัมผัส (ความกระทบทางจมูก) 4. ชิวหาสัมผัส (ความกระทบทางลิ้น) 5. กายสัมผัส (ความกระทบทางกาย) 6. มโนสัมผัส (ความกระทบทางใจ) ความสัมผัส 3 อย่างนี้ จะต้องมีธรรม 3 อย่างมาประจวบกัน เช่น จักขุสัมผัส จะ ต้องมีจักขุปสาท รูป และจักขุวิญญาณ มาประจวบกัน ถ้าเป็นแต่เพียงจักขุปสาทกระทบกับรูป เฉย ๆ ยังไม่เกิดจักขุวิญญาณ ก็ยังไม่เป็นผัสสะ ผัสสะอื่น ๆ ก็ทำนองเดียวกัน 7.เวทนา หมายถึง ความเสวยอารมณ์ คือ ความรู้สึกเป็นสุข เป็นทุกข์ หรือรู้สึกเฉยๆ การเสวยอารมณ์นี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากผัสสะ เมื่อองค์ทั้ง 3 มาประจวบกัน จึงเกิดผัสสะ ต่อจากผัสสะก็เกิดเวทนา คือ การเสวยอารมณ์ที่ต่อจากสัมผัสทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ เวทนาดังกล่าวนั้นมี 6 ประการตามแดนที่เกิด คือ 1. จักขุสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากสัมผัสทางตา) 2. โสตสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากสัมผัสทางหู) 3. ฆานสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากสัมผัสทางจมูก) 4. ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากสัมผัสทางลิ้น) 5. กายสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากสัมผัสทางกาย) 6. มโนสัมผัสสซาเวทนา (เวทนาเกิดจากสัมผัสทางใจ) ว่าโดยลักษณะเวทนามี 5 คือ 1. ความรู้สึกเป็นสุขทางกาย (สุขเวทนา) 2. ความรู้สึกเป็นสุขทางใจ (โสมนัสเวทนา) 3. ความรู้สึกเป็นทุกข์ทางกาย (ทุกขเวทนา) 204 DOU ส ม า ชิ 8 วิปัสสนากัมมัฏฐาน
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More