ข้อความต้นฉบับในหน้า
จตุตถฌานภูมิ 7 ชื่อ เวหัปผลา อสัญญาสัตตา และสุทธาวาสภูมิ 5 ชื่อ อวิหา
อตัปปา สุทัสสา สุทัสสี และอกนิฏฐา
4. อรูปภูมิ มี 4 คือ อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ และ
เนวสัญญานาสัญญายตนะ
แม้ว่าภพภูมิเหล่านี้จะเป็นสิ่งที่รองรับสรรพสัตว์ทั้งหลายไว้ แต่มนุษย์ก็ยังไม่สามารถ
ไปเรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับภพภูมิเหล่านั้นได้ ด้วยความจำกัดของสายตามนุษย์เอง ที่มองไปได้
ไกลเพียงระยะสั้น ๆ เรามองไม่เห็นคนที่ห่างไกลไปหลาย ๆ กิโลเมตร บ้านที่ห่างไกลหลาย ๆ ชั่ว
ระยะทาง ดังนั้นไม่ต้องพูดถึงโอกาสที่เราจะเห็นจังหวัดที่ติดๆ กันว่ามีลักษณะรูปร่างเป็นอย่างไร
ประเทศที่อยู่ข้างๆ ประเทศว่ามีลักษณะรูปร่างเป็นอย่างไร ไม่ต้องพูดถึงว่าเราจะเห็นอีกฝั่งซีก
โลกของเรา หรือแม้กระทั่งโลกใบนี้ทั้งใบ หรือโลกอื่นๆ ที่ห่างไกลออกไป ความเร้นลับเกี่ยวกับ
เรื่องภพภูมิยังเป็นปัญหาที่ทุกคน ทุกเชื้อชาติ ทุกศาสนา กำลังแสวงหาคำตอบ
ปัจจุบันนับว่าวิทยาการได้เจริญก้าวหน้าไปมาก มนุษย์สามารถผลิตเครื่องมือที่ทันสมัย
สามารถเพิ่มศักยภาพในการมองดูของมนุษย์ให้สามารถมองดูไปได้กว้างไกลยิ่งขึ้นเมื่อเป็นเช่นนี้
ความเร้นลับเกี่ยวกับภพภูมิที่มนุษย์ต่างกำลังแสวงหาได้พบคำตอบไปมากน้อยเพียงใดเป็นสิ่งที่
เราจะได้มาศึกษากันต่อไป
4.2 ลักษณะทางกายภาพของจักรวาลและเอกภพ
มนุษย์ได้พยายามค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องโลกและจักรวาลมายาวนานกาลิเลโอเป็นคนแรก
ที่ค้นพบว่าโลกกลม ความรู้ของกาลิเลโอเป็นความรู้ใหม่ แต่ความรู้นี้ขัดกับความเชื่อทางศาสนา
ที่สอนกันมาว่าโลกแบน กาลิเลโอจึงถูกจับไปประหารชีวิต ภายหลังความรู้ดังกล่าวก็ได้รับ
การยอมรับเมื่อมนุษย์สามารถผลิตเครื่องมือที่ทำให้สามารถมองเห็นดวงดาวต่าง ๆ ที่อยู่นอกโลก
ต่อมานักวิทยาศาสตร์ก็ค้นพบระบบสุริยะ (Solar system) ที่ประกอบด้วยดวงดาว 9 ดวง
โคจรรอบดวงอาทิตย์ และโลกของเราก็โคจรรอบดวงอาทิตย์นี้ด้วยเช่นกัน ภายหลัง
นักวิทยาศาสตร์ก็พบว่า มีระบบดาราจักรที่ใหญ่กว่าระบบสุริยะ เรียกว่า กาแล็กซี
นักวิทยาศาสตร์ค้นพบกาแล็กซี่หรือดาราจักร เป็นกลุ่มของดาวฤกษ์นับล้านดวง
ซึ่งรวมอยู่ด้วยกันด้วยแรงดึงดูดร่วมกันของดาวแต่ละดวง ดาราจักรมีขนาดน้อยใหญ่ต่างกัน
เช่นเดียวกับจำนวนของดาว ดาราจักรที่เล็กที่สุดอาจจะมีดาวอยู่เพียง 100,000 ดวง ดาราจักรที่
ใหญ่ที่สุดอาจจะมีดาวถึง 3 ล้านล้านดวง ดวงดาวต่าง ๆ เหล่านี้จะเคลื่อนที่รอบแกนกลางของ
เ
บ ท ที่ 4 ภ พ ภู มิ
DOU 67