ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประเภทที่ 3 กรรมให้ผลตามหน้าที่ มี 4 อย่าง คือ
1) ชนกกรรม กรรมทำหน้าที่นำไปเกิด หรือส่งให้เกิดในกำเนิดต่าง ๆ เปรียบเสมือน
มารดาของทารก ชนกกรรมนี้เป็นผลของอาจิณณกรรมบ้าง อาสันนกรรมบ้าง
นางนม
2) อุปัตถัมภกกรรม กรรมทำหน้าที่สนับสนุน หรืออุปถัมภ์ เป็นเสมือนพี่เลี้ยงหรือ
3) อุปปีฬกกรรม กรรมทำหน้าที่บีบคั้น มีหน้าที่บีบคั้นกรรมดีกรรมชั่วให้เพลาลง
4) อุปฆาตกกรรม หรือ อุปัจเฉทกรรม กรรมทำหน้าที่ตัดรอน มีหน้าที่ตัดรอ
ทั้งฝ่ายกุศลและอกุศล
3.3.2 รายละเอียดของกรรม
รายละเอียดของกรรม 12 มีอธิบายดังต่อไปนี้
ดรอนกรรม
เมื่อกรรมนำไปปฏิสนธิในภพใหม่ คือ คนที่ทำกรรมดีไว้ย่อมไปเกิดในภพที่ดี คนทำ
กรรมชั่วไว้มากไปเกิดในภพที่ชั่ว กรรมที่ส่งให้เกิดนั้นเรียกว่า ชนกกรรม สมมติว่าชนกกรรมฝ่ายดี
ส่งให้เกิดในตระกูลที่ดี มั่งคั่งด้วยทรัพย์สินสมบัติและบริวาร มีตระกูลสูง เขาเกิดเช่นนั้นแล้ว
ไม่ประมาท หมั่นหาทรัพย์เพิ่มเติมรักษาทรัพย์เก่าให้มั่นคง มีความเคารพนบนอบต่อผู้ควรเคารพ
ถนอมน้ำใจบริวารด้วยการสงเคราะห์เอื้อเฟื้อ พูดจาไพเราะ ทำประโยชน์ให้ และวางตนเหมาะสม
การกระทำเช่นนั้นเป็นอุปัตถัมภกกรรม ช่วยส่งเสริมผลของกรรมดีเก่า รวมกับกรรมใหม่ ทำให้
มีความมั่งคั่งมากขึ้น มีบริวารดีมากขึ้น
ตรงกันข้าม ถ้าได้ฐานะเช่นนั้นเพราะกุศลกรรมในอดีตส่งผลให้แล้ว แต่ประมาท
ผลาญทรัพย์สินด้วยอบายมุขนานาประการ เช่น เกียจคร้านทำการงานและคบมิตรเลว เป็นต้น
กรรมของเขานั้นมีสภาพเป็นอุปปีฬกกรรม บีบคั้นให้ต่ำต้อยลงจนสิ้นเนื้อประดาตัว บริวารก็
หมดสิ้น ถ้าเขาทำชั่วมากขึ้น กรรมนั้นจะกลายเป็นอุปฆาตกกรรม ตัดรอนผลแห่งกรรมดีเก่าให้
สิ้นไป กลายเป็นคนล่มจม สิ้นความรุ่งเรืองในชีวิต
อีกด้านหนึ่ง สมมติว่า บุคคลผู้หนึ่งเกิดมาลำบากยากเข็ญขัดสนทั้งทรัพย์และบริวาร
รูปร่างผิวพรรณก็ไม่งาม เพราะอกุศลกรรมในชาติก่อนหลอมตัวเป็นชนกกรรมฝ่ายชั่ว เมื่อเกิด
มาแล้วประกอบกรรมชั่วซ้ำเข้าอีกกรรมนี้มีสภาพเป็นอุปัตถัมภกกรรมช่วยสนับสนุนกรรมเก่าให้
ทวีแรงขึ้น ทำให้ฐานะของเขาทรุดหนักลงไปกว่าเดิม
1 วศิน อินทสระ, หลักกรรมและการเวียนว่ายตายเกิด, กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ธรรมดา, 2543, หน้า 17-22.
บ ท ที่ 3 ก ร ร ม - ว บ า ก
DOU 51