การปรับอินทรีย์ให้เสมอกัน MD 408 สมาธิ 8 หน้า 177
หน้าที่ 177 / 265

สรุปเนื้อหา

ในพระไตรปิฎกกล่าวถึงการปรับอินทรีย์ให้เสมอกัน ซึ่งมีผลต่อการบรรลุธรรม การสร้างความสมดุลในอินทรีย์ที่สำคัญ เช่น สัทธินทรีย์และวิริยินทรีย์ เพื่อให้กันและกันช่วยเสริมสร้างในการบรรลุธรรม การอธิบายด้วยเปรียบเทียบถึงแม่น้ำและเกาะช่วยให้เข้าใจว่าส่วนต่างๆ ของอินทรีย์ทำงานร่วมกันอย่างไรในทางปฏิบัติ โดยสามารถส่งเสริมให้เกิดสติและปัญญาเพื่อการพัฒนาตนเองได้ดียิ่งขึ้น

หัวข้อประเด็น

-ความสำคัญของอินทรีย์ในพุทธศาสนา
-การปรับระดับอินทรีย์
-บทบาทของสัทธา วิริยา สติ สมาธิ และปัญญา
-การบรรลุธรรมในทางปฏิบัติ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

เป็นไฉน ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นสัทธินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสัทธาพละ สิ่งใดเป็นสัทธาพละ สิ่งนั้นเป็นสัทธินทรีย์ สิ่งใดเป็นวิริยินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นวิริยพละ สิ่งใดเป็นวิริยพละ สิ่งนั้นเป็น วิริยินทรีย์ สิ่งใดเป็นสตินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสติพละ สิ่งใดเป็นสติพละ สิ่งนั้นเป็นสตินทรีย์ สิ่งใดเป็น สมาธินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสมาธิพละ สิ่งใดเป็นสมาธิพละ สิ่งนั้นเป็นสมาธินทรีย์ สิ่งใดเป็น ปัญญินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นปัญญาพละ สิ่งใดเป็นปัญญาพละ สิ่งนั้นเป็นปัญญินทรีย์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแม่น้ำ ซึ่งไหลไปทางทิศตะวันออก หลั่งไปทาง ทิศตะวันออก บ่าไปทางทิศตะวันออก ที่ตรงกลางแม่น้ำนั้นมีเกาะปริยายที่กระแสแห่งแม่น้ำนั้น อาศัยแล้ว ย่อมถึงซึ่งความนับว่ากระแสเดียวมีอยู่ อนึ่ง ปริยายที่กระแสแห่งแม่น้ำนั้นอาศัยแล้ว ย่อมถึงซึ่งความนับว่า สองกระแสมีอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ปริยายที่กระแสแห่งแม่น้ำนั้น อาศัยแล้ว ย่อมถึงซึ่งความนับว่า กระแสเดียวเป็นไฉน คือ น้ำในที่สุดด้านตะวันออกและในที่สุดด้านตะวันตกแห่งเกาะนั้น ปริยาย นี้แล ที่กระแสแห่งแม่น้ำนั้นอาศัยแล้ว ย่อมถึงซึ่งความนับว่ากระแสเดียว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ปริยายที่กระแสแห่งแม่น้ำนั้น อาศัยแล้ว ย่อมถึงซึ่งความนับว่า สองกระแสเป็นไฉน คือ น้ำในที่สุดด้านเหนือแล้วในที่สุดด้านใต้แห่งเกาะนั้น ปริยายนี้แลที่ กระแสแห่งแม่น้ำนั้น อาศัยแล้วย่อมถึงซึ่งความนับว่า สองกระแสฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นสัทธินทรีย์สิ่งนั้นเป็นสัทธาพละ สิ่งใดเป็น สัทธาพละ สิ่งนั้นเป็นสัทธินทรีย์ สิ่งใดเป็นวิริยินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นวิริยพละ สิ่งใดเป็นวิริยพละ สิ่งนั้นเป็นวิริยินทรีย์ สิ่งใดเป็นสตินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสติพละ สิ่งใดเป็นสติพละ สิ่งนั้นเป็นสตินทรีย์ สิ่งใดเป็นสมาธินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสมาธิพละ สิ่งใดเป็นสมาธิพละ สิ่งนั้นเป็นสมาธินทรีย์ สิ่งใด เป็นปัญญินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นปัญญาพละ สิ่งใดเป็นปัญญาพละ สิ่งนั้นเป็นปัญญินทรีย์ นอกจากนี้ในพระไตรปิฎกได้กล่าวถึงการปรับอินทรีย์ให้เสมอกัน เพราะอินทรีย์มีผลต่อ การบรรลุธรรม การทำอินทรีย์มีศรัทธาเป็นต้นให้มีความเสมอกัน ชื่อว่าการปรับอินทรีย์ให้ เสมอกัน ถ้าว่าสัทธินทรีย์มีพลัง อินทรีย์นอกนี้อ่อน จะทำให้ วิริยินทรีย์ก็ไม่อาจจะทำหน้าที่ ประคองไว้ได้ สตินทรีย์ก็ไม่อาจจะทำหน้าที่ปรากฏได้ สมาธินทรีย์ก็ไม่อาจจะทำหน้าที่ไม่ให้ ฟุ้งซ่านได้ ปัญญินทรีย์ก็ไม่อาจจะทำหน้าที่พิจารณาเห็นได้ 1 มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์, มก. เล่มที่ 17 หน้า 762 บ ท ที่ 8 อิ น ท รี ย์ 2.2 DOU 167
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More