ข้อความต้นฉบับในหน้า
นอกจากนี้ในอภิธรรม ยังกล่าวถึงอุปาทานเป็นปัจจัยให้เกิดกรรมภพ และอุปปัตติภพ
กรรมภพ แปลว่า ภพคือกรรม ได้แก่ เจตนาและธรรมที่สัมปยุตด้วยเจตนา มีอภิชฌา
(ความละโมบ) เป็นต้น อันได้แก่ ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อาเนญชาภิสังขาร หรือจะ
กล่าวให้ง่ายก็คือ กรรมภพนั้น ได้แก่ กุศลกรรม และอกุศลกรรม อันจะนำไปสู่กามภพ รูปภพ
อรูปภพ
อุปปัตติภพ แปลว่า ภพคือภาวะที่เกิดขึ้น ปรากฏขึ้น ได้แก่ อุปาทานขันธ์ ซึ่งก็หมายถึง
ภพทั้ง 3 นั้นเอง
11. ชาติ คือ ความเกิด ว่าโดยสมมติได้แก่ความเกิดของสัตว์ โดยปรมัตถ์ ได้แก่
ความปรากฏแห่งขันธ์ หรือความเกิดขึ้นครั้งแรกของขันธ์ สรุปแล้วชาติในที่นี้มีความหมายได้
2 นัย คือ หมายถึงการเกิดของขันธ์ 5 ในแต่ละขณะจิต คือการเกิดปรากฏของอุปปัตติภพใหม่ได้แก่
รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่งถือว่าเป็นวิบาก หลังจากกรรมภพ คือ การทำความดี
ความชั่วสิ้นสุดลง การเกิดแบบนี้ปรากฏขึ้นในทุกขณะจิต ภาษาอภิธรรม เรียกว่า อุปปาทะ และ
หมายถึงการเกิดของขันธ์ 5 ในแต่ละภพแต่ละชาติ ได้แก่ การเกิดปรากฏเป็นตัวตนมีรูปร่างใน
ภพภูมิต่าง ๆ เช่น เกิดเป็นมนุษย์ เกิดเป็นเทวดา เกิดเป็นพรหม เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน ทั้งนี้
แล้วแต่ผลของกรรม มีอายุยืนบ้าง สั้นบ้าง การเกิดแบบนี้ ภาษาอภิธรรม เรียกว่า ปฏิสนธิ
12. ชราและมรณะ ชรา คือ ความแก่ ความเฒ่า ความคร่ำคร่าของสัตว์ มีอาการที่
ปรากฏ เช่น ฟันหลุด ผมหงอก หนังเหี่ยวย่น หย่อนยาน อายุและกำลังวังชาลดน้อยถอยลง
แบ่งเป็น 2 อย่าง คือ ความเสื่อมโทรมของขันธ์ 5 ในแต่ละขณะจิต และความเสื่อมโทรมของ
ขันธ์ 5 ในแต่ละภพแต่ละชาติ
ความเสื่อมโทรมของขันธ์ 5 ในแต่ละขณะจิต หมายถึง ความตั้งอยู่ได้ชั่วขณะหนึ่งของ
อุปปัตติภพใหม่หลังจากการเกิดปรากฏ แล้วก่อนที่จะดับ กล่าวคือ ในแต่ละขณะจิต ขันธ์ 5
เมื่อปรากฏแล้วก็จะคงอยู่ได้ชั่วแวบหนึ่งแล้วก็จะดับลง ขณะที่คงอยู่ ภาษาอภิธรรมเรียกว่า ฐิติ
แต่ก็ใช่ว่าจะคงที่อยู่อย่างนั้น มีความเสื่อมโทรมอันเป็นตัวแปรนำไปสู่ความแตกดับกำกับ
แทรกซ้อนอยู่ด้วย
อภิธรรมปิฎก วิภังค์, มก. เล่มที่ 77 ข้อ 265 หน้า 435.
อภิธรรมปิฎก วิภังค์, มก. เล่มที่ 77 ข้อ 267 หน้า 436.
206 DOU สมาธิ 8 วิปัสสนากัมมัฏฐาน