วิปัสสนาภูมิในภาคปฏิบัติ MD 408 สมาธิ 8 หน้า 236
หน้าที่ 236 / 265

สรุปเนื้อหา

การศึกษาเกี่ยวกับวิปัสสนาภูมิที่ผ่านมา เป็นการเข้าใจในระดับสุตมยปัญญา และจินตมยปัญญา แต่การเจริญวิปัสสนาที่แท้จริงจะเกิดขึ้นได้ต้องใช้ภาวนามยปัญญา หลวงปู่วัดปากน้ำให้ความสำคัญกับสมถะและวิปัสสนา โดยสมถะเป็นวิชชาเบื้องต้นที่ช่วยให้จิตสงบระงับ ขณะที่วิปัสสนาเป็นขั้นสูงที่เห็นแจ้งในธรรม การศึกษาต้องเดินแนวนี้อย่างถูกต้องเพื่อการเข้าถึงธรรมกาย

หัวข้อประเด็น

- วิปัสสนาภูมิ
- การศึกษาในทางพระพุทธศาสนา
- สมถะและวิปัสสนา
- การเจริญวิปัสสนา
- ความสำคัญของธรรมกาย

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บทที่ 11 วิปัสสนาภูมิในภาคปฏิบัติ การศึกษาวิปัสสนาภูมิที่ผ่านมา เป็นการศึกษาในภาคปริยัติที่มีการศึกษาเล่าเรียนกัน ทั่วไป ปรากฏเป็นหลักฐานทางคัมภีร์ และตำรับตำราต่าง ๆ พอให้เข้าใจในลักษณะพื้นฐานของ วิปัสสนาภูมิ เป็นการเข้าใจในระดับสุตมยปัญญา และจินตมยปัญญาเท่านั้น แต่การเจริญ วิปัสสนาที่แท้จริง จนเข้าใจอย่างถ่องแท้ และเป็นหนทางเพื่อการหลุดพ้นได้นั้น จะเกิดขึ้นได้ ต้องศึกษาด้วยภาวนามยปัญญา พระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำภาษีเจริญ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ผู้ค้นพบ วิชชาธรรมกายท่านได้กล่าวถึงสมถะและวิปัสสนาเอาไว้ว่า “สมถะเป็นวิชชาเบื้องต้น พุทธศาสนิกชนต้องเอาใจใส่ คือ แปลความว่า สงบระงับใจ เรียกว่า สมถะ วิปัสสนาเป็นขั้นสูงกว่าสมถะ ซึ่งแปลว่าเห็นแจ้ง เป็นธรรมเบื้องสูง เรียกว่าวิปัสสนา สมถะวิปัสสนา 2 อย่างนี้ เป็นธรรมอันสุขุมลุ่มลึกในทางพระพุทธศาสนา... ตั้งแต่กายมนุษย์ถึงกายอรูปพรหมละเอียด แค่นั้นเรียกว่า ขั้นสมถะ ตั้งแต่กาย ธรรมโคตรภูทั้งหยาบทั้งละเอียด จนกระทั่งถึงกายพระอรหัตทั้งหยาบทั้งละเอียดนี้ ขั้นวิปัสสนา ทั้งนี้ที่เรามาเรียนสมถวิปัสสนาวันนี้ ต้องเดินแนวนี้ ผิดแนวนี้ไม่ได้ และก็ต้องเป็นอย่างนี้ ผิด อย่างนี้ไปไม่ได้ ผิดอย่างนี้ไปก็เลอะเหลว ต้องถูกแนวนี้” สมถะหมายเอาตั้งแต่ใจหยุด จิตปราศจากนิวรณ์ จนถึงกายอรูปพรหม ส่วนวิปัสสนาหมายเอา ตั้งแต่เข้าถึงธรรมกายโคตรภู จนถึงธรรมกายพระอรหัตละเอียด เพราะมีธรรมกายจึงจะไปรู้ไปเห็นแจ้งได้ในสิ่งที่วิเศษ สิ่งที่คนทั่วไปไม่เห็น การจะศึกษา วิปัสสนาต้องมีธรรมจักขุของพระธรรมกายเสียก่อน จึงจะไปรู้ไปเห็นในเรื่องขันธ์ 5 อายตนะ 12 ธาตุ 18 อินทรีย์ 22 อริยสัจ 4 ปฏิจจสมุปบาทได้ หน้า 4-13. เอกสารรวบรวมพระธรรมเทศนา (พระมงคลเทพมุนี), กรุงเทพฯ : อาคารทวีสินคอมเพล็กซ์, 2539, 226 DOU สมาธิ 8 วิ ปั ส ส น า กัมมัฏฐาน
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More