การพิจารณานิโรธอริยสัจ MD 408 สมาธิ 8 หน้า 254
หน้าที่ 254 / 265

สรุปเนื้อหา

บทความนี้นำเสนอการพิจารณานิโรธอริยสัจ ซึ่งเป็นกระบวนการนำไปสู่การดับทุกข์ เมื่อตระหนักรู้ในสัจธรรมสามารถเข้าถึงสภาวะที่อยู่เหนือทุกข์ได้ ผ่านการบรรลุญาณต่าง ๆ ของพระธรรมกาย การพัฒนาศีล สมาธิ และปัญญาเป็นแนวทางในมรรคสัจ เพื่อความรู้แจ้งอย่างแท้จริง การเห็นแจ้งในนิโรธอริยสัจคือการเข้าถึงสภาวะที่เป็นนิรันดร์และสุขอย่างแท้จริง.

หัวข้อประเด็น

-การพิจารณานิโรธอริยสัจ
-มรรคสัจ
-ความรู้แจ้ง
-การพัฒนาศีล สมาธิ ปัญญา
-พระธรรมกาย

ข้อความต้นฉบับในหน้า

หุ้มรู้นั้นก็กลับเป็นตัววิชชา ให้รู้แจ้งในสัจธรรมขึ้นมาทันที เห็น จำ คิด และรู้ จึงเบิกบานเต็มที่ ขยายโตขึ้นเต็มส่วนขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเท่าหน้าตักของพระธรรมกาย เห็น จำ คิด และรู้ใน ก้อนทุกข์และสมุทัยของกายโลกียะเดิมจึงดับหมด เมื่เจริญภาวนาถึงพระธรรมกาย นับตั้งแต่ กายลำดับที่ 9 ซึ่งเป็นกายโลกุตตระเป็นต้นไป จนสุดธรรมกายพระอรหัตละเอียด กายธรรม หรือ ธรรมกาย ซึ่งเป็นกายโลกุตตระจึงพ้นจากอาณัติแห่งพระไตรลักษณ์ กลับเป็น นิจจัง สุขัง และอัตตา ด้วยประการฉะนี้ เมื่อได้เห็นด้วยตาพระธรรมกาย รู้แจ้งด้วยญาณของพระธรรมกายว่าสภาวะที่ทุกข์ดับ เพราะเหตุดับ คือ นิโรธอริยสัจ มีได้ เป็นได้จริง เรียกว่าได้บรรลุ สัจจญาณ และเห็นด้วยตา พระธรรมกาย และรู้แจ้งด้วยญาณพระธรรมกายว่า นิโรธอริยสัจนี้ควรทำให้แจ้ง ชื่อว่าได้บรรลุ กิจจญาณ และเห็นด้วยตาพระธรรมกาย รู้แจ้งด้วยญาณพระธรรมกายว่านิโรธอริยสัจนี้ เราได้ กระทำให้แจ้งแล้ว ชื่อว่าได้บรรลุกตญาณ ดังนี้คือการพิจารณานิโรธอริยสัจ เป็นไปในญาณ 3 4. มรรคสัจ หรือ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ทางดำเนินเพื่อความดับทุกข์ เมื่อ เห็นแจ้ง รู้แจ้งในนิโรธอริยสัจแล้ว ก็พึงพิจารณาและกระทำมรรคให้เกิดขึ้น ให้เจริญขึ้นอีกต่อไป มรรคอริยสัจนั้น เป็นดวงกลมใสสะอาดบริสุทธิ์ยิ่งนัก มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเท่า หน้าตักและความสูงของพระธรรมกาย ซ้อนอยู่ในกลางนิโรธอริยสัจ ที่ในกลางขันธ์ 5 ใน กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม ซึ่งตั้งอยู่ที่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั่นเอง มรรคอริยสัจ คือ ดวงศีล ซึ่งมีซ้อนกันอยู่ 3 ชั้น คือ 1. สัมมาวาจา วาจาชอบ 2. สัมมากัมมันโต การงานชอบ 3. สัมมาอาชีโว การเลี้ยงชีวิตชอบ ดวงสมาธิ ซึ่งมีซ้อนกันอยู่อีก 3 ชั้นเข้าไปข้างใน คือ 1.สัมมาวายาโม 2. สัมมาสติ 3. สัมมาสมาธิ ความเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตงใจมนชอบ 244 DOU ส ม า ชิ 8 วิปัสสนากัมมัฏฐาน
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More