กิเลสและวงจรชีวิตสรรพสัตว์ MD 408 สมาธิ 8 หน้า 30
หน้าที่ 30 / 265

สรุปเนื้อหา

บทนี้กล่าวถึงวงจรชีวิตที่สรรพสัตว์ต้องเวียนว่ายตายเกิด เนื่องจากยังมี 'กิเลส' ที่บังคับให้ทำกรรม ส่งผลให้ต้องประสบวิบากต่างๆ บทเรียนจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เน้นถึงบทบาทของใจในการกระทำ โดยใจเป็นหัวหน้าเป็นใหญ่ในการตัดสินดี-ชั่ว การศึกษาความรู้เกี่ยวกับใจย่อมสำคัญในการเข้าใจสภาพชีวิตที่ต้องเวียนว่ายอยู่ในสังสารวัฏ และเพื่อหาหนทางหลุดพ้น

หัวข้อประเด็น

-กิเลส
-วงจรชีวิต
-วิปัสสนา
-ใจมนุษย์
-การกระทำดี-ชั่ว

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บทที่ 2 กิเลส เมื่อพูดถึงวงจรของชีวิตสรรพสัตว์ เป็นธรรมดาที่ว่าสรรพสัตว์ทั้งหลายอยู่ในวังวนของ สังสารวัฏ ยังต้องมีการเวียนว่ายตายเกิดไม่มีวันจบสิ้น ตราบใดที่ยังไม่หมดกิเลส กิเลสก็จะ คอยบังคับให้ทำกรรม และเมื่อทำกรรมก็ย่อมทำให้เกิดวิบาก วิบากก็จะส่งผลให้เกิด และทำกรรม ใหม่ ๆ อยู่ร่ำไป เกิดเป็นวงจรซ้ำ ๆ ไปเรื่อยๆ จนยากที่จะหาจุดจบได้ ตราบใดที่สรรพสัตว์ทั้งหลาย ยังไม่รู้หนทางเพื่อการหลุดพ้นจากสังสารวัฏ ชีวิตนี้ก็จะต้องเวียนวนต่อไป ในการศึกษา วิปัสสนาอันเป็นเส้นทางเพื่อให้เห็นและเข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงสภาพชีวิตที่กำลังเวียนว่าย จึงควรที่จะศึกษาและทำความเข้าใจถึงมูลเหตุแห่งสังสารวัฏ คือ กิเลส ตายเกิดในสังสารวัฏ ก่อนในเบื้องต้น ให้รู้จักหน้าตา สภาพการบังคับ และการส่งผลว่ามีลักษณะเป็นเช่นไร 2.1 กิเลสในใจมนุษย์ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสว่า “ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จแล้วด้วยใจ” พุทธภาษิตบทนี้ย่อมมีนัยว่า ใจบัญชากายให้ทำสิ่งต่างๆ การกระทำของบุคคลจะดีหรือ ร้ายขึ้นอยู่กับใจ ถ้าใจคิดดี การพูดและการกระทำของบุคคลย่อมดีงามและเป็นประโยชน์เสมอ แต่ถ้าใจคิดร้าย การพูดและการกระทำของบุคคลย่อมเลวร้าย มีโทษ มีอันตรายตามไปด้วย เหตุนี้เราทุกคนควรต้องให้ความสำคัญในการศึกษาความรู้อันเกี่ยวเนื่องกับเรื่องของ “ใจ” ตามธรรมดาคนเรามีส่วนประกอบสำคัญยิ่ง 2 ส่วน ได้แก่ กาย กับ ใจ ใจมีหน้าที่คิด แล้วบงการให้กายแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ เมื่อพิจารณาเราจะเห็นว่า ร่างกายเป็นสมบัติอันล้ำค่า ของมนุษย์ทุกๆ คน เป็นอุปกรณ์ในการสั่งสมบุญบารมี แต่บางเวลาย่อมมีโอกาสอ่อนแอ เจ็บป่วย เสื่อมโทรม ซูบผอม อิดโรย หมดแรง เศร้าหมอง ไม่สดชื่น ทุกข์ทรมาน จนกระทั่งตายจาก 1 ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท, มก. เล่มที่ 40 ข้อ 11 หน้า 1. 2 พระภาวนาวิริยคุณ (เผด็จ ทัตตชีโว), คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์, กรุงเทพฯ : กราฟิคอาร์ตพริ้นติ้ง จำกัด, 2545, หน้า 4. 20 DOU สมาธิ 8 วิ ปั ส ส น า กัมมัฏฐาน
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More