ความเข้าใจเกี่ยวกับกรรม: มโนสุจริตและอกุศลกรรม MD 408 สมาธิ 8 หน้า 59
หน้าที่ 59 / 265

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับมโนสุจริตซึ่งมี 3 ประการ ได้แก่ อนภิชฌา, อัพยาบาท, และสัมมาทิฏฐิ รวมถึงแนวคิดเกี่ยวกับอกุศลกรรมที่เกิดจากโลภะ โทสะ โมหะ การกระทำของบุคคลที่ทำในลักษณะนี้มักนำมาซึ่งความทุกข์และโทษ นอกจากนี้ยังมีการแบ่งประเภทอกุศลกรรมออกเป็นกายทุจริต, วจีทุจริต และมโนทุจริต โดยให้ตัวอย่างของกรรมชั่วในแต่ละหมวดเพื่อให้เข้าใจความหมายและผลกระทบของกรรมดังกล่าว

หัวข้อประเด็น

-มโนสุจริต
-อกุศลกรรม
-ประเภทของกรรม
-กายทุจริต
-วจีทุจริต
-มโนทุจริต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

3. มโนสุจริต หมายถึง การกระทำดีทางใจ มี 3 ประการคือ 1) อนภิชฌา ไม่คิด เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น 2) อัพยาบาท ไม่คิดปองร้ายเบียดเบียนผู้อื่น 3) สัมมาทิฏฐิ คิดถูกเห็นถูก 2. ฝ่ายอกุศลกรรม หมายถึง กรรมฝ่ายชั่ว เป็นการกระทำที่บุคคลทำด้วยโลภะ โทสะ โมหะ เป็นการกระทำที่มีโทษ เดือดร้อนในภายหลัง มีน้ำตานองหน้า ร้องไห้อยู่ มีทุกข์เป็นผล ดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า “กรรมที่บุคคลทำด้วยโลภะ โทสะ โมหะ เกิดแต่โลภะ โทสะ โมหะ มีโลภะ โทสะ โมหะ เป็นต้นเหตุ มีโลภะ โทสะ โมหะเป็นแดนเกิดอันใด กรรมนั้นเป็นอกุศล กรรมนั้นมีโทษ กรรมนั้นมีทุกข์เป็นผล” “บุคคลทำกรรมใดแล้ว ย่อมเดือดร้อนภายหลัง มีหน้านองด้วยน้ำตา ร้องไห้อยู่ เสวยผลแห่งกรรมใด กรรมนั้นทำแล้วไม่ดีเลย” อกุศลกรรมเป็นการกระทำที่ไม่ดีไม่งาม ผิดศีล ผิดธรรม ทำให้จิตเศร้าหมอง มีทุกข์โทษภัยเดือดร้อนในภายหลัง ก่อให้เกิดบาปและกุศลธรรม พฤติกรรมที่จัดเป็นอกุศลกรรม คือ อกุศลกรรมบถ 10 สามารถแบ่งออก 3 ทาง ตามการกระทำที่เกิดขึ้นทางกาย วาจาและใจ ดงนิคอ 1. กายทุจริต หมายถึง การกระทำชั่วทางกาย มี 3 ประการ คือ 1) ปาณาติบาต การจงใจฆ่าสัตว์ที่ยังมีชีวิต 2) อทินนาทาน การจงใจลักขโมยของที่ผู้อื่นไม่ให้ 3) กาเมสุมิจฉาจาร การจงใจประพฤติผิดในกาม 2. วจีทุจริต หมายถึง การกระทำชั่วทางวาจา มี 4 ประการ คือ 1) มุสาวาท การจงใจ พูดเท็จ 2) ปิสุณายวาจา การจงใจพูดส่อเสียด 3) ผรุสาวาจา การจงใจพูดคำหยาบ 4) สัมผัปปลาปะ การจงใจพูดเพ้อเจ้อ 3. มโนทุจริต หมายถึง การกระทำชั่วทางใจ มี 3 ประการ คือ 1) อภิชฌา คิดเพ่งเล็ง อยากได้สิ่งของของผู้อื่น 2) พยาบาท คิดปองร้ายเบียดเบียนผู้อื่น 3) มิจฉาทิฏฐิ คิดผิด เห็นผิด ปฐมนิทานสูตร, อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต, มก. เล่มที่ 34 ข้อ 551 หน้า 520. เขมสูตร สังยุตตนิกาย สคาถวรรค, มก. เล่มที่ 24 ข้อ 281 หน้า 367. บ ท ที่ 3 ก ร ร ม - ว บ า ก DOU 49
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More